วันอาทิตย์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

Learning log 8 (สิ่งที่ได้เรียนรู้ในห้องเรียน)


Noun Clause คืออนุประโยคที่ทำหน้าที่เสมือนคำนามหนึ่งที่อยู่ในประโยค ในการสนทนาในชีวิตประจำวันของเรา เราอาจเคยได้ยินหรือเคยได้ใช้ Noun Clause โดยไม่รู้ตัวว่าใช้อยู่ เช่น I think you are very pretty. ประโยคเต็มที่เป็นทางการคือ I think that you are very pretty. , I hope you pass the exam. ประโยคเต็มเป็นทางการคือ I hope that you pass the exam. Noun Clause เหล่านี้เมื่ออยู่ในตำแหน่งประธานเราจะเรียกมันว่า Subject Noun Clause และเมื่อ Noun Clause นั้นอยู่ในตำแหน่งของกรรมเราจะเรียกมันว่า Object Noun Clause

                ตัวอย่างประโยคที่มี Subject Noun Clause คือ That scores are going down is clear.ที่ว่าคะแนลดลงเป็นสิ่งที่เห็นได้ชัด ต่อมาเป็นตัวอย่างประโยค Object Noun Clause คือ I feel that you overestimated the damages. ผมรู้สึกว่าคุณประมาณการความเสียหายเกินความจริง ซึ่ง Object Noun Clause จะอยู่คู่กับ main clause ของประโยคเสมอ  โดยประโยคจะเริ่มด้วย main clause แล้วตามด้วย Object Noun Clause โดยไม่ต้องมีเครื่องหมาย comma คั่น Object Noun Clause นั้นสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท ดังต่อไปนี้  Noun Clause ที่ขึ้นต้นด้วยคำว่า that , Noun Clause ที่ขึ้นต้นด้วย wh-Words และ Noun Clause ที่ขึ้นต้นด้วยคำว่า if หรือ whether

Noun Clause ที่ขึ้นต้นด้วยคำว่า that มีหลักการใช้ดังต่อไปนี้ ประการแรกคือ ใช้ตามหลัง Verbs บางตัวที่แสดงความรู้สึก ความคิด หรือ ความคิดเห็น เช่น agree, feel, know, remember, believe, forget, realize, think, doubt, hope, recognize, understand เป็นต้น เช่น I agree that we should follow him. ฉันเห็นด้วยที่ว่าเราควรคิดตามเขา หลักการใช้ต่อมาคือ ถ้าเป็นภาษาพูด มักจะละคำว่า that ซึ่งเป็นคำขึ้นต้น clause เช่น I think that it’s red, not blue. (เป็นภาษาทางการ) ถ้าภาษาพูจะได้ว่าI think it’s red, not blue.

                การใช้ Object noun clause นั้น Verbs ใน main clauses มักจะเป็น present tense แต่ verbs ใน noun clauses จะเป็น tense อะไรก็ได้ เช่น I believe it’s raining. (now) I believe it’ll rain. (very soon) I believe it rained. (a moment ago)  ในการสนทนา ถ้าต้องการหลีกเลี่ยงการพูดคำว่า that บ่อยเกินไป หรือไม่ต้องการพูด noun clause ซ้ำ สามารถตอบโดยใช้คำว่า so หรือ not หลัง main clauses ได้ เช่น Surat: Is Surawee here today?  Dendao: I think so.   (คำพูดเต็มๆก็คือ I think that Surawee is here today.)

                การใช้ Noun Clauses ที่ขึ้นต้นด้วย Wh-Words (ได้แก่คำว่า what where when why how) ประการแรกคือ Noun Clauses ที่ขึ้นต้นด้วย Wh-Words มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Indirect wh-questions และแม้ว่า noun clauses เหล่านี้จะขึ้นต้นด้วยคำแสดงคำถาม แต่ลำดับคำ (word order) ในอนุประโยคนี้ จะเป็นลำดับคำของประโยคบอกเล่า ไม่ใช่ลำดับคำของประโยคคำถาม เช่น I know why he comes home very late.(ไม่ใช่ why does he come home very late)I don’t know when he will arrive.(ไม่ใช่ when will he arrive) หลักการต่อมาคือ การใช้เครื่องหมายวรรคตอนของประโยคจะเป็นไปตามลักษณะของ main clause กล่าวคือ ถ้า main clause เป็นคำถามจะใช้เครื่องหมาย question mark ปิดประโยค ถ้า main clause เป็นบอกเล่า จะใช้เครื่องหมาย full stop ปิดประโยค เช่น  Could you tell me where the elevators are?(Main clause เป็นคำถาม)I’m wondering where the elevators are.(Main clause เป็นบอกเล่า)

                เราใช้ Noun Clauses ที่ขึ้นต้นด้วย Wh-Words เพื่อแสดงให้คู่สนทนาทราบว่า เราไม่รู้ หรือเราไม่แน่ใจ เช่น I don’t know how much it costs.I would like to know when our next meeting will be.
I’m not sure which house is his.
และใช้ Noun Clauses ที่ขึ้นต้นด้วย Wh-Words เพื่อถามหาข้อมูลอย่างสุภาพ  เช่น Could you tell me who are injured in the accident?  Can you tell me what time the show starts?

                เราใช้ Noun Clauses ที่ขึ้นต้นด้วย if หรือ whether คือ indirect yes/no questions นั่นเองเช่น Direct Question: Did they pass the exam?  Indirect Question: I don’t know if they passed the exam. (if they passed the exam เป็น Noun Clause) ลำดับคำในประโยค และเครื่องหมายจบประโยค ใช้หลักการเดียวกับ noun clause ที่ขึ้นต้นด้วย Wh-Words  เราจะขึ้นต้น Noun Clauses ด้วยคำว่า if หรือ whether ก็ได้ แต่มักใช้ whether ในสถานการณ์ที่ค่อนข้างเป็นทางการ Tell me if you want to go with us or not. ต่อมา เรา ใช้ Noun Clauses ที่ขึ้นต้นด้วย if หรือ whether เมื่อ main clause แสดงการใช้ความคิด หรือความคิดคำนึง เช่น I can’t remember if I had already paid him. , I wonder whether he will arrive in time. และเราจะ ใช้ Noun Clauses ที่ขึ้นต้นด้วย if หรือ whether เมื่อต้องการถามคำถามอย่างสุภาพ  เช่น Do you know if the principal is in his office.  Can you tell me whether the tickets include drinks?

                จากข้อมูลด้านบนที่ได้กล่าวมาแล้วว่า เราจะละ that ในประโยค Noun Clauses ได้ ซึ่งมีอยู่หลายกรณีคือ กรณีที่ Noun Clausesเป็น Object เช่น We believe that he told the truth. ต่อมาคือ กรณีที่ Noun Clauses เป็น Subject complement  เช่น The reason is that he speaks English fluently. และกรณีที่ตามหลังคำคุณศัพท์ เช่น I am sure that he can get a good job. แต่ก็มีบางกรณีที่เราไม่สามรถละ That ได้ เช่น กรณีเมื่อ that-clause ขึ้นต้นประโยค เช่น That coffee grows in Brazil is true. ที่ว่ากาแฟปลูกในประเทศบราซิลนั้นเป็นความจริง , That she had decided to be engaged frightened me very much. ที่ว่าหล่อนได้ตัดสินใจที่จะรับหมั้นนั้นทำให้ผมตกใจมากๆ

                ยังมีกรณีที่สองกรณีที่ไม่สามรถละ that ได้คือ เมื่อ that-clause เป็นคำซ้อนนามที่อยู่ข้างหน้ามัน The news that he was murderer is not true. ข่าวว่าที่เขาเป็นฆาตกรนั้นไม่เป็นความจริงเลย , His belief that the earth moves round the sun is correct. ความเชื่อของเขาที่ว่าโลกหมุนรอบดวงอาทิตย์เป็นเรื่องจริงละ that ในกรณีที่เมื่อ that-clause อยู่หลัง It is หรือ เช่น  It is true that earth  moves round the sun. เป็นความจริงที่ว่าโลกหมุนรอบดวงอาทิตย์ , It is impossible that he has done this by himself. เป็นไปไม่ได้ที่ว่าเขาทำสิ่งนี้ด้วยตัวเอง

 

 

 

 

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น