วันอาทิตย์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

Learning log การอบรมภาคเช้า 30/10/58


วันที่ 30 ตุลาคม 2558 เป็นวันที่สองของการอบรมเชิงปฏิบัติ เทคนิคการสอนภาษาอังกฤษแบบบูรณาการทักษะ ซึ่งเป็นการบรรยายเรื่องวิธีการสอนภาษาอังกฤษในศตวรรษที่ 21 โดย ผศ.ดร.ศิตา เยี่ยมขันติถาวร เรื่องที่ดิฉันได้ฟังบรรยายนั้นเป็นเรื่องที่จำเป็นที่ผู้สอนต้องมีความรู้และความเข้าใจในวิธีการสอนต่างๆ หรือแนวการสอนที่หลากหลาย ได้แก่ แนวการสอนภาษาอังกฤษที่เน้นกฎเกณฑ์ภาษา ซึ่งแบ่งได้เป็น วิธีการสอนแบบไวยากรณ์และแปล วิธีสอนแบบตรงและวิธีสอนแบบฟัง-พูด ต่อมาคือแนวการสอนที่เน้นการปฏิสัมพันธ์ แบ่งได้เป็น วิธีสอนแบบเงียบ , วิธีการสอนตามแนวธรรมชาติ , วิธีสอนแบบชักชวน  , สอนแบบตอบสนองด้วยท่าทาง , การเรียนรู้แบบร่วมมือ , การเรียนรู้แบบเน้นภาระงาน และการเรียนรู้จากโครงงาน ต่อมาเป็นแนวการสอนที่เน้นความเหมาะสมในการใช้ภาษา ได้แก่ แนวการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร และแนวการสอนแบบกำหนดสถานการณ์ และการสอนภาษาอังกฤษแบบบูรณาการเนื้อหาและภาษา ได้แก่ การสอนเน้นสาระการเรียนรู้และการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ

จากการได้ฟังบรรยายตามหัวข้อต่างๆ ในเรื่องวิธีการสอนและแนวการสอนนั้น ดิฉันได้ความรู้ใหม่ๆมากมาย การสอนภาษาอังกฤษควรเริ่มจากการฟังและการพูด จะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่ดี เพราะผู้เรียน มีพื้นฐานทางด้านการฟังและการพูดแล้ว ก็สามารถนำไปต่อยอดเพื่อเป็นพื้นฐานในการอ่านและการเขียน และที่ดีมากๆคือการเรียนรู้ฟัง-พูดในภาษาที่สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ด้วย และต่อมาวิธีการสอนที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง student center เป็นการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ผู้สอนจะเป็นผู้ชี้นำให้ผู้เรียนไดเรียนรู้ ได้รู้จักการแก้ปัญหา ได้ใช้ความคิด ซึ่งการเรียนรู้แบบนี้จะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้รู้ที่มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น

ดิฉันได้รู้จัก Role play ซึ่งเป็นการสอนโดยแสดงบทบาท เพื่อให้เด็กได้คิดในสิ่งที่เขาเคยเจอ ให้เขาได้ทำเองไม่ต้องไปบอกเขาทุกอย่างกับเขาว่าต้องทำอะไร เช่น ในตัวอย่างของการอบรมที่ผู้ดำเนินรายการได้ยกคือ เคสของการไปหาหมอที่โรงพยาบาล แล้วให้ผู้เรียนนึกถึงตอนที่เขาเคยประสบพบเจอว่าเมื่อไปถึงโรงพยาบาลจะต้องทำอะไรบ้าง เมื่อพบหมอแล้วเขาเคยได้ยินไหมว่าหมอพูดอะไร ถามอะไรบ้าง แล้วเขาเคยตอบไปว่าอย่างไร ให้นักเรียนได้ออกมาแสดงบทบาทสมมติ แล้วเขาก็จะเกิดการคิดด้วยตนเอง นอกจากนี้ดิฉันได้เรียนรู้อีกคือ การที่เราจะสอนภาษาให้กับผู้เรียนนั้นไม่ว่าจะเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษก็ตาม ควรสอนภาษาที่เป็นจริงในชีวิตประจำวัน ที่ผู้เรียนสามารถนำไปใช้ได้จริงจะดีที่สุด เช่น การยกตัวอย่างให้ผู้เรียนฟังว่า A crocodile is sitting on the chair. จระเข้กำลังนั่งบนเก้าอี้ ซึ่งเป็นประโยคที่ถูกหลักตามไวยากรณ์ก็จริง แต่มันไม่ถูกต้องตามหลักความเป็นจริงคือมันเป็นไปไม่ได้ที่จระเข้จะนั่งอยู่บนเก้าอี้ เพราะฉะนั้นควรสอนในสิ่งที่เป็นไปได้เพื่อให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้และผู้เรียนสามารถนำไปใช้ได้จริง

ผู้ดำเนินรายการได้กล่าวถึงการสอนแบบตอบสนองด้วยท่าทาง ตัวอย่างเช่น เมื่อครูเข้ามาในห้องเรียนแล้วบอให้ผู้เรียนทำท่าทางประกอบกับคำที่ครูกำหนด แล้วให้นักเรียนทำตาม เช่น การนำเข้าสู่บทเรียน sit down , stand up , raise your hand , open your eyes , close your eyes หรือ Be quite เป็นต้น แล้วครั้งต่อไปลองสลับคำเหล่านี้แบบไม่เรียงบ้าง เด็กๆก็สามารถจำได้ว่า sit down คือ นั่งลง , stand up ยืนขึ้น แล้วลองหาคำศัพท์ใหม่ๆ มาแทรกให้เด็กได้รับรู้เยอะๆ เด็กก็จะสามารถทำตามและจำคำศัพท์เหล่านั้นได้ ซึ่งทักษะที่เด็กจะได้รับคือ ทักษะการฟัง การประกอบท่าทางและทักษะความเข้าใจ

นอกจากนี้ดิฉันได้รู้จักคำว่า Flipped Classroom ห้องเรียนกลับด้านถือว่าเป็นความรู้ใหม่ของดิฉันเลย ซึ่ง Flipped Classroom คือแนวการจัดการเรียนการสอนที่ทำโดยให้ผู้เรียน เรียนที่บ้าน-ทำการบ้านที่โรงเรียน แนวคิดคือเป็นการนำสิ่งที่เคยทำสิ่งเดิมๆที่เคยทำในชั้นเรียนนั้นให้ไปทำที่บ้านและสิ่งที่เคยถูกมอบหมายให้เคยทำที่บ้านมาทำที่โรงเรียน ดิฉันคิดว่ามันก็แปลกดีแต่ก็เป็นสิ่งที่ดี เพราะเวลาที่นักเรียนต้องการพลบครูจริงๆก็คือตอนที่เขาต้องการความช่วยเหลือ เพราะบางครั้งเนื้อหาความรู้เด็กสามารถที่จะหาข้อมูลมาเรียนรู้เองได้ แต่ถ้าเป็นการบ้านเมื่อเด็กไม่เข้าใจ เด็ก็สามารถนำมาปรึกษาครูได้ ซึ่งห้องเรียนกลับด้านนี้ เป็นการจัดการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง Child-center education เด็กสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองเพิ่มมากขึ้นและที่สำคัญวิธีนี้อาจเป็นการแก้ไขเรื่องการบ้านได้อีกด้วย

แน่นอนว่าหากผู้เรียนไปศึกษาค้นคว้าเองที่บ้านด้วยอินเตอร์เน็ตนั้น บทบาทของเทคโนโลยีก็ยิ่งมีความสำคัญมากยิ่งขึ้น ก็อาจจะมีปัญหาตรมมาบ้างคือ ดิฉันคิดว่าแต่ละพื้นที่ในประเทศไทย สิ่งอำนวยความสะดวก เช่น เรื่องอินเตอร์เน็ตที่ยังไม่ครอบคลุมทุกพื้นที่ ทำให้ถ้ามีการสอนวิธีนี้ ผู้เรียนจะไม่ได้รับความสะดวกทางด้านอินเตอร์เน็ต แต่ข้อดีของ Flipped Classroom ก็มีอยู่มากมายคือ ครูได้ใกล้ชิดกับผู้เรียนมากยิ่งขึ้น ถ้านักเรียนมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการบ้านหรืองาน ครูก็สามารถถามตอบหรือไขข้อสงสัยให้ผู้เรียนในห้องเรียนได้ และประโยชน์ของการให้ผู้เรียบได้ไปศึกษาค้นคว้าข้อมูลที่บ้านนั้น เมื่อเด็กมารวมในห้องเรียน เด็กก็พอที่จะมีความรู้จากศึกษามานั้นได้มาแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน ได้ทั้งความรู้ใหม่ๆและปฏิสัมพันธ์ที่ดีขึ้นระหว่าครูกับผู้เรียนและผู้เรียนกับผู้เรียน

จากการได้รับฟังการบรรยายในช่วงเช้าของวันที่สอง ดิฉันได้รับความรู้ต่างๆมากมาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของวิธีการสอนและแนวการสอนที่มักมีข้อดีข้อเสียที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งแต่ละแนวการสอนนั้นสามารถนำไปใช้ในอนาคตได้ และได้เรียนและเข้าใจวิธีการสอนแบบ Flipped Classroom และดิฉันรู้สึกเห็นด้วยกับแนวคิดนี้เพราะมันเกิดข้อดีที่หลากหลาย ซึ่ง Flipped Classroom มีความแตกต่างกับการสอนในสมัยก่อนอยู่มาก เช่น Flipped Classroom ครูจะชี้แนะบทเรียนให้ที่บ้านโดยการดูวิดีโอบ้าง การหาข้อมูลในเว็บไซต์บ้าง แต่ในสมัยก่อนครูจะสอนในห้องเรียน แนะนำเนื้อหาในห้องเรียน นักเรียนก็จดไป นักเรียนทำตามครูสั่งตลอด ครูให้การบ้าน ข้อดีของ Flipped Classroom คือ ผู้เรียนสามารถค้นหาความรู้ด้วยตนเอง ผู้เรียนได้มีปฏิสัมพันธ์กับครูและเพื่อนในห้องอีกด้วย นอกจากนี้ Flipped Classroom เป็นวิธีการสอนที่ดิฉันสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการสอนของดิฉันต่อไปได้อีกด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น