ถ้าเราพูดถึง
If - Clauseหรือ Conditional Sentences ที่เป็นประโยคที่มีข้อความแสดงเงื่อนไข หลาย ๆ คนอาจยังไม่เข้าใจ
แต่ถ้านึกถึง If – Clause ภาษาไทยนั้นก็คือ ถ้า....แล้ว.... ซึ่งเป็นประโยคที่หลาย ๆ คนพูดกันติดปาก
เช่น ถ้าฝนตก ฉันจะอยู่บ้าน , ถ้าฉันเป็นมหาเศรษฐี ฉันจะซื้อทุกอย่างในโลกนี้
หรือถ้าเมื่อวานฉันทำงานเสร็จ วันนี้ฉันคงสบายไปแล้ว และ If – Clause ในภาษาอังกฤษจะแบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ คือ If – Clause ที่แสดงเงื่อนไข ที่เป็นไปได้ สามารถเป็นจริงได้ ต่อมาคือ If –
Clause
ที่แสดงเงื่อนไขแบบเป็นไปไม่ได้ในปัจจุบันหรือการมโนสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ให้เกิดขึ้นและ
If – Clause เป็นเงื่อนที่เป็นไปไม่ได้ในอดีตที่ผ่านมาแล้ว
If – Clause หรือ Conditional Sentences คือประโยคที่มีข้อความแสดงเงื่อนไข
Conditional ซึ่งประกอบด้วยประโยคเล็ก ๆ 2 ประโยครวมกัน
และเชื่อมด้วย Conditional “If” ประโยคที่นำหน้าด้วย If
แสดงเงื่อนไขเราเรียกว่า If – Clause
และประโยคที่แสดงผลเงื่อนไขนั้นเราเรียกว่า main clause
ตัวอย่าง If it rains, I with stay at home โดยประโยค If
it rains นั้นเป็น If – Clause ส่วน I
will stay at home นั้นเป็น main clause ซึ่ง If
– Clause นั้นจะแบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ รูปแบบแรกคือ If – Clause ที่แสดงความเป็นไปได้สูงหรือที่สามารถเป็นไปได้จริงเสมอ
ซึ่งจะมีโครงสร้างคือ If + Present Simple , S + will หรือ
S + will + if + Present Simple ถ้าวาง If ไว้หน้าประโยคให้ใส่
comma ขั้นระหว่างประโยค 2 ประโยค ต่อมารูปแบบที่ 2 คือ If
clause
ที่ใช้สมมติในสิ่งที่ไม่เป็นความจริงหรือจินตนาการให้เกิดขึ้น และรูปแบบที่ 3 คือ
ใช้สมมติเหตุการณ์ในอดีตที่ผ่านมาแล้วหรือสมมติเหตุการณ์ที่เป็นไปไม่ได้
If – Clause ที่แสดงความเป็นไปได้หรือที่สามารถเป็นจริงที่อยู่ในปัจจุบันหรือเรียกว่า
Present real ซึ่งจะมีโครงสร้างคือ if + Present
Simple, S +will +V1 ตัวอย่างเช่น If it rains, the streets
are flooded. ถ้าฝนตกก็จะท่วมถนน If we freeze water, it
will change into ice. ถ้าเราทำให้น้ำถึงจุดเยือกแข็ง
น้ำก็จะเปลี่ยนเป็นน้ำแข็ง. If I have time, I will help you. ถ้าฉันมีเวลา ฉันจะช่วยคุณ จากตัวอย่างประโยคที่กล่าวมานั้น
จะเห็นได้ว่าเป็นเหตุการณ์ที่สามารถเกิดขึ้นได้จริง ต่อมาเป็น If – Clause ที่ใช้สมมติในสิ่งที่ไม่เป็นความจริง ,
จินตนาการให้เกิดขึ้นในเหตุการณ์ที่เป็นปัจจุบันหรือเรียกว่าการมโนนั้นเอง
ซึ่งมีโครงสร้างคือ If + Past simple, s+ would +v1 หรือ S+would+v1
, if + Past simpleตัวอย่างประโยค
เช่น If I were bird, I could fly. ถ้าผมเป็นนก ผมก็คงบินได้
If the earth had 2 moons , the night sky would be so excite. ถ้าโลกนี้มีดวงจันทร์ 2 ดวงบนท้องฟ้ายามค่ำคืนจะประหลาดยิ่ง
ซึ่งจากตัวอย่างที่กล่าวมานั้นจะเห็นว่า
เป็นเหตุการณ์ที่ไม่สามารถเป็นไปได้และคล้ายกับเป็นการมโนหรือจินตาการนั้นเอง
If – Clause ก็ใช้กับการสมมติที่เป็นไปไม่ได้
หรือตรงกันข้ามกับความจริง ที่ผ่านมาแล้วในอดีตซึ่งมีโครงสร้าง คือ If +
Past perfect, S + would + have + V3 ตัวอย่างเช่น If I had
got some advice, I might have bought that stock. ถ้าบังเอิญผมได้รับคำแนะนำ
ผมก็คงซื้อหุ้นตัวนั้นได้ If I had set my alarm clock, I could have woken
up early. ถ้าผมตั้งนาฬิกาปลุกไว้ ผมก็คงตื่นเช้า
ด้งนั้นสังเกตได้ว่า If – Clause รูปแบบที่ 2 และ 3
จะมีข้อแตกต่างกันเล็กน้อยที่สุดก็คือ ในรูปแบบที่ 2 จะเป็นการมโนเหตุการณ์ในปัจจุบันและไม่มีทางเป็นไปได้
เรียกว่า Present Unreal นั้นเอง และในรูปแบบที่ 3
นั้นจะเป็นการมโนเหตุการณ์ในอดีต ซึ่งไม่มีทางเป็นได้ เรียกว่า Past unreal
นั่นเอง
การรู้คำศัพท์เยอะ
ๆ ทำให้เราสามารถเรียนรู้และพัฒนาทักษะด้านภาษาอังกฤษได้เร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ซึ่งคำศัพท์นั้นมีความสำคัญต่อการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเป็นอย่างมาก เช่น
ทักษะด้านการฟัง เมื่อเราฟังภาษาอังกฤษ
ถ้าเรารู้คำศัพท์เราก็จะฟังเข้าใจมากยิ่งขึ้น ทักษะการพูด
เมื่อเราต้องการที่จะสนทนา เราก็จำเป็นต้องรู้คำศัพท์ต่าง ๆ ให้มากเพื่อการพูดจะได้คล่องมากยิ่งขึ้น
สุดท้ายคือทักษะการเขียน
ไม่ว่าจะเป็นการเขียนความเรียงหรือการเขียนประโยคอะไรก็ตาม
ก็ต้องใช้คำศัพท์ที่หลากหลายทั้งนั้น
จะเห็นได้ว่าคำศัพท์มีความสำคัญกับการเรียนเป็นอย่างมาก
ยิ่งเราฝึกฝนเยอะเท่าไรยิ่งเป็นผลดีต่อตัวเรา นอกจากนี้จากการเรียนรู้ดิฉันได้รู้จักกับเว็บไซด์ที่เป็นการทดสอบความรู้คำศัพท์ของเราคือ www.vocabularysize.com ซึ่งมาจากการที่ดิฉันได้ทำแบบทดสอบทั้งหมด 140 ข้อ ผลสรุปออกมาว่า
ดิฉันรู้คำศัพท์น้อยมาก ในขณะที่ทำมีแต่ศัพท์ที่ดิฉันไม่เคยเห็นมาก่อน ดังนั้น
ดิฉันจึงต้องพัฒนาตัวเองให้มากขึ้น
จากการได้เรียนรู้ในห้องเรียนนั้นในเรื่องของ
If – Clause ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ประเภท หรือ 3
เงื่อนไขต่อมาคือ
เงื่อนไขที่หนึ่งได้กล่าวว่าเป็นแสดงถึงความเป็นไปได้หรือสามารถเป็นจริงได้ในปัจจุบัน
เงื่อนไขต่อมาคือ การแสดงถึงสิ่งที่ไม่เป็นความจริงแต่จินตนาการอยากให้เป็นจริง
หรือเรียกอีกอย่างหว่าเป็นการมโนนั้นเอง
เงื่อนไขที่สามคือการสมมติหรือพูดถึงสิ่งที่สามารถ..ไปได้
หรือสิ่งที่ตรงกันข้ามกับความจริงที่ผ่านมาแล้วในอดีตไม่สามารถย้อนกลับไปได้
ทุกเงื่อนไขเราล้วนเจอในชีวิตประจำวันของเราเพราะบางครั้งเราชอบแสดงเงื่อนไขของตนเองขึ้นมา
ต่อมายังได้รู้จักเว็บไซด์ที่สามารถทดสอบเราในเรื่องของคำศัพท์ว่าเรารู้จักคำศัพท์ขนาดไหน
เมื่อลองใช้หรือทดสอบแล้ว สรุปว่าดิฉันรู้จักคำศัพท์น้อยมาก
และเมื่อรู้แล้วดิฉันคิดว่าต้องพัฒนาตนเองอีกมากมาย เพื่อให้เราเก่งภาษาอังกฤษมากยิ่งขึ้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น