วันอาทิตย์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

Learning log การอบรมภาคเช้า 29/10/58


จากโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เทคนิคการสอนภาษาอังกฤษแบบบูรณาการทักษะในวันที่ 29 ตุลาคม 2558 ในช่วงเช้า ซึ่งเป็นการเสวนาวิชาการงานวิจัยในหัวข้อ Beyond Language Learning โดย ดร.สุจินต์ หนูแก้ว , อาจารย์สุนทร บุญแก้ว และผศ.ดร.ประกาศิต สิทธิ์ธิติกุล ดิฉันได้รับความรู้ต่างๆมากมายที่เกี่ยวงานวิจัย , คุณลักษณะที่จำเป็นของผู้เรียนในการเรียนรู้ ขั้นตอนการเรียนรู้ที่มนุษย์พึ่งมีและประสบการณ์จาการจัดโครงการต่างๆของผู้เสวนา

ดิฉันไดเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่อง 7c  ในศตวรรษที่ 21 ที่เป็นคุณลักษณะจำเป็นอย่างยิ่งของผู้เรียนในการเรียนรู้  คือ Critical thinking & problem solving เป็นทักษะที่มีการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ต้องคิดและตีความให้ได้แล้วเมื่อคิดเสร็จก็สามารถนำความคิดนั้นไปแก้ไขปัญหาในเรื่องต่างๆให้ได้Creativity & innovation ต้องมีการสร้างสรรค์และพัฒนานวัตกรรมต่างๆขึ้นมา แต่การที่จะเกิด C2 ได้นั้น เราต้องมี C1 ก่อน Cross-cultural understanding เป็นทักษะการรู้เรื่องราวเกี่ยวกับวัฒนธรรมต่างๆ Collaboration, teamwork & leadership ทักษะการทำงานเป็นทีม การทำงานร่วมกัน การเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี, Communication information & media literacy  เป็นทักษะในการสื่อสาร การรู้เท่าทันข้อมูลต่างๆ  Computing & ICT literacy เป็นทักษะทางด้านเทคโนโลยีและการสื่อสาร และ Career & learning skills ทักษะอาชีพ และทักษะการเรียนรู้

ดิฉันได้เรียนรู้ว่าขั้นต่ำสุดของมนุษย์คือ การจำ ซึ่งดิฉันเห็นด้วยเพราะจากการที่ดิฉันมีการเรียนรู้แบบการจำส่วนใหญ่จะลืม เช่น โดยเฉพาะการสอบ บางครั้งจำไปเป็นบท เป็นหน้า เพื่อนำไปสอบ สอบเสร็จสุดท้ายก็ลืม เหมือนเป็นการเรียนรู้ที่สูญเปล่า การเรียนรู้ที่ดีกว่าการจำคือ ความเข้าใจ อันนี้ดิฉันก็เห็นด้วย เพราะถ้าเราสามารถเรียนรู้โดยอาศัยความเข้าใจ จะทำให้ได้ความรู้ที่ยืนยาว และถ้ายิ่งเราเข้าใจเราก็สามารถไปสู่ขั้นต่อไปได้อีกคือ การนำไปใช้ ขั้นต่อมาคือ ความสามารถในการวิเคราะห์ สังเคราะห์ การประเมินค่า และความสามารถสูงสุดของการเรียนรู้ก็คือ การคิดสร้างสรรค์ ซึ่งเป็นการสร้างสรรค์ให้เกิดสิ่งใหม่ขึ้นมานั่นเอง

นอกจากนี้ดิฉีนได้ฟังการเล่าประสบการณืการจัดทำโครงการและการทำงานของอาจารย์สุนทร บุญแก้ว ท่านได้กล่าวว่า จากการที่ท่านได้สอนนักศึกษาในเคสการพานักท่องเที่ยวไปกินอาหารอีสานแล้วเกิดเหตุท้องเสียที่สาเหตุมาจากซุปหน่อไม้แล้วให้นักศึกษาคิดว่า ควรทำอย่างไรให้ซุปหน่อไม้มีความสะอาด ซึ่งให้มีการนำเสนอเป็นภาษาอังกฤษ แล้วนักศึกษาก็เขียนร่างโดยภาษาไทยก่อน เช่น อันดับที่หนึ่งคือ แกะเปลือกหน่อไม้ พอเขาแปลเป็นภาษาอังกฤษเขาก็ใช้ Google ในการแปล จึงทำให้ได้ภาษาที่ผิดๆมา ดังนั้นเขาได้รู้ปัญหาวิธีการคิดของเด็ก คือเด็กยังไม่มีความคิดวิเคราะห์มันถูกต้องจริงๆแล้วหรือยังนั่นเอง จากนั้นท่านได้พูดถึงโครงการที่พานักศึกษาจากสาขาวิชาการท่องเที่ยวไปทัศนศึกษาที่ประเทศมาเลเซียเป็นเวลา 3 เดือน ท่านบอกว่า ไม่ได้หวังให้นักศึกษาสามารถพูดภาษาอังกฤษแบบเด็กอินเตอร์ แต่สิ่งที่หวังว่าเด็กน่าจะได้รับมากๆคือความมั่นใจ ไม่กลัว และมีพื้นฐานระดับหนึ่งที่สามารถต่อยอดในการทำงานได้ในการพูดภาษาอังกฤษ และนอกกจากการเรียนรู้ภาษาอังกฤษแล้ว ยังได้เรียนรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมของเขาด้วย และการเรียนรู้จะเป็นไปได้ด้วยดีนั้นก็ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมด้วย

ความสามรถพื้นฐานที่ทุกคนต้องมีคือ การอ่าน การเขียนและการคำนวณ ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นเพราะในปัจจุบัน หลายคนได้รับข้อมูลที่หลากหลายแตกต่างกันออกไป โดยการอ่าน แม้กระทั่งในโทรศัพท์ เทคโนโลยีต่างๆ เราก็ยังต้องมีการอ่านเขามาเกี่ยวข้อง แต่จะเห็นได้ว่าผู้เรียนยุคใหม่ในตอนนี้ ขาดการวิเคราะห์ในการอ่าน บางทีรับข้อมูลนั้นเข้ามาแล้ว ไม่ทราบว่าอะไรที่ควรจะเชื่อ อะไรที่เป็นข้อมูลจริงๆหรือข้อมูลเท็จ เชื่อทั้งๆที่ไม่ได้กรองข้อมูล ดังนั้นควรจะเพิ่มผู้เรียนทางด้าน Critical Thinking

ได้รู้ความแตกต่างของ analyzing กับ analytical  ซึ่ง analyzing เป็นการคิดเชิงวิเคราะห์ส่วนประกอบและหน้าที่ของสิ่งต่างๆ คำกริยาที่ใช้ เช่น วิเคราะห์ เปรียบเทียบ จัดประเภท แยกส่วนประกอบ หาข้อแตกต่าง สำรวจ แบ่งเป็นส่วยย่อย แยกแยะ หาข้อขัดแย้ง ส่วน analytical คือการที่เรานำสิ่งที่วิเคราะห์ออกมาแล้ว แล้วสามารถนำไปสู่การแก้ปัญหา แล้วเมื่อไรก็ตามที่เราสามารถเข้าถึงการแก้ปัญหาได้ก็จะเป็น analytical thinking และที่สิ่งที่ผู้เสวนาได้กล่าวไว้ด้วยก็คือ ถ้าเราอยากมี skill ด้านหนึ่งด้านใด หรือในทุกๆด้าน ต้องเกิดจากการฝึกบ่อยๆ มีการฝึกซ้ำๆ แล้วการเรียนรู้เหล่านั้นก็จะเกิดเป็น skill ในแต่ละด้านๆไป เช่น อยากมีทักษะทางด้านการฟัง ก็ควรฟังบ่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นการฟังเพลง การฟังชุดวิดีโอต่างๆ ถ้าเราอยากเก่งทักษะด้านการพูด ก็อาจจะฝึกจาก การร้องเพลง หรือการฝึกพูดกับเจ้าของภาษาบ่อย หากเราอยากมีทักษะทางด้านการอ่านก็ อ่านบ่อย อาจจะอ่านนิยาย หนังสือพิมพ์ หรือขาวสารตามอิเล็คโตรนิคต่างๆ และถ้าอยากเก่งทักษะการเขียน ฝักเขียนบ่อยๆ อาจจะเป็นความเรียง แต่สิ่งที่ควรคำนึงถึง ในการเขียนคือ Grammar ที่เป็นหัวใจหลักของการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเลยทีเดียว 

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น