วันอาทิตย์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

Learning log 6 (สิ่งที่ได้เรียนรู้นอกห้องเรียน)


การเรียนรู้นอกห้องเรียน เป็นการเรียนรู้ที่ทำให้เราได้ค้นคว้าในเรื่องที่สนใจ หรือสงสัยให้เข้าใจมากยิ่งขึ้นและเป็นโอกาสที่ได้เปลี่ยนบรรยากาศการเรียนรู้อีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นการดูรายการโทรทัศน์ ดูหนัง ฟังเพลง การอ่านข่าวหรือการฟังข่าวภาษาอังกฤษ ก็สามารถทำให้เราสามารถพัฒนาเองในทักษะภาษาอังกฤษได้ดีขึ้นและดิฉันเลือกการฝึกทักษะ โดยการดูรายการโทรทัศน์ที่เป็นภาษาอังกฤษคือรายการภาษาอังกฤษติดล้อ ซึ่งเป็นรายการที่ให้สาระความรู้เรื่องของภาษาอังกฤษ ทั้งการพูดสำเนียง ได้ทั้งประโยคคำถาม – ตอบ ในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ทั้งคำศัพท์ใหม่ ๆ และเป็นการรวบรวมหมวดความรู้เป็นเรื่อง ๆ ทำให้ได้ทั้งความสนุกและความรู้ไปด้วย แบละได้ค้นคว้าเกี่ยวกับ Gerund และ Present Participle  เพื่อให้มีความเข้าใจและสมารถนำไปใช้ให้ถูกต้องยิ่งขึ้น

รายการโทรทัศน์เป็นสื่ออย่างหนึ่งที่สามารถเรียนรู้และพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษได้ เช่น รายการภาษาอังกฤษติดล้อ ซึ่งเป็นรายการที่อธิบายการพูดในสถานการณ์จริงพาไปในสถานที่จริงและอธิบายการพูด การใช้ประโยค คำศัพท์ใหม่ต่าง ๆ เช่น ตอน A day at the bank  เป็นการอธิบายการพูดการจำลองสถานการณ์การทำธุรกรรมทางการเงิน ประโยคต่าง ๆ ในการถอนเงิน การฝากเงิน หรือการโอนเงิน เช่น I would like to make a ten thousand bath deposit ฉันต้องการฝากเงิน 10,000 บาท ,What type of account. ต้องการเปิดบัญชีประเภทไหน , นอกจากนี้ดิฉันยังได้รับคำศัพท์ใหม่ ๆ อีกมากมายเกี่ยวกับธนาคาร Savings account บัญชีออมทรัพย์, current account บัญชีกระแสรายวัน

นอกจากนี้ยังมีคำศัพท์ที่เราคุ้นเคย แต่เมื่อนำมาใช้ในธนาคารก็ทำให้รู้ความหมายอีกด้วย เช่น Interest ซึ่งแปลว่าสนใจ ถ้านำมาใช้ในระบบธนาคารก็หมายถึงดอกเบี้ย คำต่อมาคือ borrow ที่แปลว่ายืม เมื่อนำมาใช้ในธนาคารการกู้เงิน ต้องอย่างประโยค เช่น To borrow money from the bank you have to pay interest. การกู้เงินจากธนาคารคุณต้องเสียดอกเบี้ย  และสุดท้ายคือ  Change ที่แปลว่าเปลี่ยนแปลง เมื่อนำมาใช้กับธนาคารจะแปลว่า เงินทอน  และโดยทั่วไปเราจะเรียกตู้กดเงินว่าตู้ ATM ซึ่ง ATM จะย่อมาจาก  AUTOMATIC TELLER MACHINE เครื่องถอนเงินอัตโนมัติ CDM  ย่อมาจาก CASH DEPOSIT MACHINE เครื่องฝากเงินสดอัตโนมัติ

ทั้งนี้รายการภาษาอังกฤษติดล้อยังหลากหลายตอนหรือหลากหลายสถานการณ์มีมากมาย ไม่ว่าจะเป็นสถานที่โรงแรม ตลาดหรือ โรงพยาบาล เป็นต้น ในแต่ละเรื่อง ก็มีความรู้ที่แตกต่างกันไปแต่ทุกเรื่องได้ความสนุกเหมือนกัน จากการที่ดิฉันได้เพลินเพลิดกับรายการโทรทัศน์ไปแล้ว  ดิฉันได้ศึกษาค้นคว้าเรื่อง Gerund และ present participle  ซึ่ง Gerund คือ กิริยาช่องที่ 1 ที่เติม –ing แล้วนำมาใช้ในความหมายเป็นครึ่งกริยาครึ่งนาม เราจะเรียกว่า กริยานาม โดยมีวิธีการใช้ดังต่อไปนี้ประการที่หนึ่ง ใช้เป็นประธานของกิริยาในประโยคเช่น Sleeping is necessary to heath การนอนหลับเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อสุขภาพ

ประการที่สอง คือใช้เป็นกรรมของกิริยา เช่น My sister likes dancing. น้องสาวของฉันชอบเต้น  ประการต่อมาคือ เป็นกรรมของบุรพบท Object of Preposition  เช่น He began by explaining the meaning of certain words. การเริ่มต้นด้วยการอธิบายความหมายของคำบางคำ ต่อไปคือ เป็นส่วนสมบูรณ์ของกิริยา Complement  โดยส่วนใหญ่จะตามหลัง Verb to be แปลว่า “การ”  ไม่ใช่  “กำลัง” เช่น My hobby is collecting stamps. ประการต่อมาคือ ทำหน้าที่เป็นนามซ่อนนามตัวอื่น In Apposition of a noun  เช่น The sport , hunting wild animals, in very dangerous. กีฬาล่าสัตว์ป่ามีอันตรายมาก ประการถัดไปคือ ใช้คำ  Gerund ตามหลังกิริยา go (go + gerund) มีความหมายว่า “ไปเล่นเพื่อให้มีความสนุกเพลิดเพลิน เช่น We of the go fishing เราไปตกปลา  และถ้า came + Gerund มีความหมายเป็นการเชื้อเชิญ , ชักชวน เช่น Came dancing with us, pleased มาเต้นลำกับเราซิครับ

            ประการต่อมาจากที่กล่าวมาคือ คำ gerund ประกอบหน้านามคล้ายกับเป็นคุณศัพท์ก็ได้ แต่ในกรณีนี้ระหว่าง gerund กับนามที่ตามหลังมักนิยมใช้สัญลักษณ์ – (hyphen) มาคั่นไว้เสมอ เช่น a walking-stick –ไม้เท้า , a swimming-pool = สระว่ายน้ำ ตัวอย่างประโยค เช่น My grandfather always uses a walk-stick when he go somewhere. ปู่ของผมใช้ไม้เท้าเสมอเมื่อท่านจะไปที่ไหน การใช้ gerund ประการต่อมากคือ gerund แสดงความเป็นเจ้าของประกอบข้างหน้าได้ เช่น We appreciated on your coming เราแสดงความยินดีต่อการมาของท่าน แต่ทั้งนี้การแสดงความเป็นเจ้าของประกอบข้างหน้า gerund นั้นโดยปกติจะใช้ก็ต่อเมื่อ gerund นั้นเป็นประธานเท่านั้น และใช้คำ gerund สำหรับข้อความที่เป็น การห้าม กฎระเบียบ ข้อบังคับ หรือข้อห้ามมิให้กระทำ เช่น No parking , No smoking เป็นต้นจะเห็นได้ว่าจากการนำ gerund ไปใช้นั้น gerund จะทำหน้าที่เป็นคำนาม

                Present Participle คือ กิริยาที่เติม –ing ซึ่งหมายถึง อาการนั้น ๆ กำลังดำเนินอยู่ ซึ่งเมื่อใช้จะมีหน้าที่ดังต่อไปนี้ ประการที่หนึ่ง คือ เมื่อตามหลัง Verb to be จะทำให้ประโยคนั้นเป็น Continuous tens เช่น  He is walking along  the street. เขากำลังเดินไปตามถนน  ประการที่สองคือ ใช้ตามหลังกิริยาที่แสดงความรู้สึก เมื่อหมายถึง “การกระทำนั้น กำลังดำเนินอยู่” ได้แก่ see feel, hear, smell หรือ watch เป็นตัน ตัวอย่างเช่น I saw her coming  here. ผมเห็นเธอกำลังเดินมาที่นี่ ประการที่สามคือ ใช้เป็นคำคุณศัพท์ประกอบนามได้ ซึ่งอาจแยกได้เป็น 2 กรณี คือ กรณีที่หนึ่งคือ ใช้ประกอบหน้านามนั้นโดยตรง เช่น A boiling kettle is on the stove. กาน้ำเดือดตั้งอยู่บนเตา ในกรณีที่สองคือ ใช้หลังกิริยาก็ได้ เช่น This story is very interesting. เรื่องนี้น่าสนใจมาก

                ประการที่สี่ ในการใช้ Present participle  คือใช้ขยายกรรมของกิริยาต่อไปนี้ find , keep , leave ,catch หรือ set เป็นต้น โดยมีโครงสร้าง subject + verb+ object + present participle

ตัวอย่างเช่น My friend kept me waiting the whole day. เพื่อนของผมทำให้ผมต้องรอทั้งวัน ประการต่อมาคือ ใช้ตามหลัง verb to have ที่ไปแสดงผลหรือประสบการณ์ และจะใช้กับ can’t หรือ won’t ก็ได้ที่มีความหมายว่า “อนุญาต” เช่น  The doctor will soon have him going home. คุณหมอจะอนุญาตให้เขากลับบ้านได้เร็ว ๆนี้ ประการต่อไปคือ ใช้ขยายกิริยาตัวอื่นในลักษณะที่การกระทำนั้น กระทำพร้อมกันในเวลาเดียวกันเช่น She stood waiting for you. เธอยืนคอยคุณอยู่

                จากที่กล่าวถึง Gerund และ Present Participle มาข้างต้นนี้ทั้งสองตัวนี้ยังมีข้อแตกต่างกัน คือ ถ้านามที่มีคำกิริยาเติม ing นั้นไปขยาย เป็นผู้กระทำหรือแสดงอาการของกิริยาตัวนั้นได้เองไม่ต้องให้ผู้อื่นมาแสดงให้ คำกิริยาที่เติม ing ตัวนั้นจะเป็น Present Participle และอีกประเด็นคือถ้านามที่มีคำกิริยาเติม ing นั้นไปขยายกระทำหรือแสดงอาการของกิริยาตัวนั้นเองไม่ได้จำเป็นต้องให้ผู้อื่นมาทำแทน กิริยาที่เติม ing ตัวเป็น Gerund ขอให้ดูตัวอย่างด้านล่างประกอบนะครับ ตัวอย่างเป็น He is cleaning the house. เขากำลังทำความสะอาดบ้าน จากประโยคดังกล่าว Cleaning เป็น Present Participle เนื่องจากเป็นกิริยาของ he  และ he เป็นแสดงอาการ คือ ทำความสะอาดเองได้ ตัวอย่างเช่น His duty is cleaning the house. หน้าที่ของเขาคือทำความสะอาดบ้าน จากประโยคที่สอง Cleaning เป็น Gerund เพราะว่า cleaning แม้จะเป็นคำกิริยาของ duty แต่ duty กระทำอาการเองคือ ทำความสะอาดเองไม่ได้ (ต้องอาศัยบุคคลทำให้นั้นเอง)

                จากการได้ดูรายการโทรทัศน์เกี่ยวกับภาษาอังกฤษนั้น ดิฉันได้ความรู้ความเพลิดเพลินมากมายและยังสามารถนำความรู้ที่ได้รับนั้นไปใช้และพัฒนาตนเองให้ดีขึ้น ทั้งด้านการฟัง การเขียน การคิด และเรื่องของคำศัพท์ได้รู้คำศัพท์ที่คัดมาเป็นหมวด ๆ ในแต่ละเรื่อง ได้ทั้งคำศัพท์ใหม่มากมาย นอกจากนี้ดิฉันได้รับความรู้จากการทบทวนความรู้ในเรื่องของ Gerund และ Present Participle ทั้งลักษณะการใช้และความแตกต่างของ Gerund  และ Present Participle ซึ่งเป็นความรู้ที่ดิฉันสามารถนำไปประกอบการเรียนการสอนได้เป็นอย่างดี

 

 

 

 

 

1 ความคิดเห็น:

  1. Slots & Casinos - Mapyro
    › city 순천 출장샵 › best-casinos › city › best-casinos See 1887 reviews, 1,078 photos and 51 tips from 1787 visitors about Slots and 상주 출장마사지 Casinos. "I got to try a new game recently 인천광역 출장샵 with a new game, and I wanted 여수 출장샵 to  Rating: 4 거제 출장안마 2,067 reviews Price range: $0

    ตอบลบ