ในการเรียนภาษาอังกฤษก็มีความคล้ายคลึงกับการเรียนภาษาไทยที่เราจำเป็นต้องมีความรู้พื้นฐานมาก่อน
ไม่ว่าจะเป็นเรื่องคำนาม คำกริยา หรือที่เรียกอีกอย่างว่า Part of speech ในภาษาอังกฤษ
แม้กระทั่งประโยคหรืออนุประโยคก็เป็นส่วนสำคัญที่สามารถทำให้ผู้เรียนนั้นมีทักษะในการพูดการเขียน
การเลือกใช้ความรู้ต่างๆได้อย่างถูกต้อง ซึ่งจากการเรียนรู้ดิฉันได้เรียนรู้เรื่อง
Adverb clause ซึ่งมีอยู่หลายประเภท แต่ละประเภทก็มีการใช้ที่แตกต่างกันออกไป
Adverb clause หมายถึง ประโยคย่อยที่ทำหน้าทีขยายคำกริยา ขยายคำคุณศัพท์และขยายตัวมันเอง
ซึ่งหน้าที่ของ Adverb Clause หลักก็เหมือนกับ Adverb
นั่นเอง ตัวอย่างเช่น Mr. Tony gave a speech here.(คุณโทนี่ได้ทำการปราศรัยที่นี่) อธิบายได้ว่า here ไปขยาย
gave นั่นเอง อีกหนึ่งตัวอย่างเช่น Mr. Tony gave a speech where people are
gathering. คุณโทนี่ได้ทำการปราศรัย ณ ที่ที่ผู้คนไปชุมนุมกัน
where people are gathering เป็น Adverb ไปขยาย
gave และ Adverb Clause สามารถแบ่งออกได้เป็น
9 ประเภท ได้แก่
Adverb Clause of Place (ใช้บอกสถานที่)
Adverb Clause of Manner(ใช้บอกกริยาอาการ) Adverb
Clause of Purpose(ใช้บอกจุดประสงค์) Adverb Clause of
Reason (ใช้บอกเหตุผล ) Adverb Clause of Result (ใช้บอกผลลัพธ์) Adverb Clause of Condition (ใช้บอกการสมมติหรือเงื่อนไข)Adverb
Clause of Concession/Contrast (บอกความขัดแย้ง) Adverb
Clause of Comparison (บอกการเปรียบเทียบ) และ Adverb Clause of Time (ใช้บอกเวลา)
Adverb Clause of Place (ใช้บอกสถานที่) คำเชื่อมที่ใช้ได้แก่ where (ที่.....), wherever (ที่ใดก็ตาม) ตัวอย่างประโยคเช่น I
live where I work.ฉันที่ที่ฉันทำงาน ประโยคหลัก คือ I live. ประโยคย่อยคือ where I work ทำหน้าที่ขยายกริยา live
เพื่อบอกว่า อยู่ที่ไหน (อยู่ที่ที่ฉันทำงาน) ประเภทต่อมาคือ Adverb Clause of Manner(ใช้บอกกริยาอาการ) คำเชื่อมที่ใช้ as if, as though
(ราวกับว่า.......) ตัวอย่างประโยคเช่น My wife treats me as if I were her
slave. ภรรยาของผมทำกับผมราวกับว่าผมเป็นทาสของเธอ ประโยคหลักคือ My
wife treats me. ประโยคย่อยคือ as if I were her slave ทำหน้าที่ขยาย treats เพื่อบอกว่า สิ่งที่เธอปฏิบัติต่อเขานั้นเป็นยังไง
ก็คือ ราวกับว่าเป็นทาสของเธอ
Adverb Clause
of Purpose (ใช้บอกจุดประสงค์) คำเชื่อมที่ใช้
so that, in order that, in the hope that (เพื่อที่ว่า......, เพื่อที่จะ......) ตัวอย่างประโยคเช่น She left home early so that
she could arrive at the stadium in time. เธอออกจากบ้านเร็ว
เพื่อจะได้ไปถึงสนามกีฬาทันเวลา ประโยคหลักคือ She left home early. ประโยคย่อยคือ so that she could arrive at the stadium in time ทำหน้าที่ขยายกริยา left เพื่อบอกว่าเธอออกจากบ้านเร็วเพื่ออะไร
Adverb Clause of Reason (ใช้บอกเหตุผล)
คำเชื่อมที่ใช้คือ because,as, since (เพราะว่า)
ตัวอย่างประโยคเช่น Robert went to the hospital because his friend had an
accident. โรเบิร์ตไปโรงพยาบาลเพราะเพื่อนของเขาประสบอุบัติเหตุ
ประโยคหลักคือ Robert went to the hospital. ประโยคย่อยคือ because
his friend had an accident
Adverb Clause of Result (ใช้บอกผลลัพธ์) คำเชื่อที่ใช้ so…that, such…that (....มากจนกระทั่ง....) so…that ใช้ใน 2 กรณีคือ ใช้กับคำคุณศัพท์หรือคำกริยาวิเศษณ์ โดยคำดังกล่าวอยู่ระหว่าง so
และ that และสามารถมีกลุ่มคำอื่นขยายคำคุณศัพท์หรือคำกริยาวิเศษณ์ก็ได้
และ that ใน adverb clause ประเภทนี้สามารถละได้
และสามารถ ใช้กับคำนามที่มี much, many ข้างหน้า ส่วน such…that มีวิธีการใช้
คือ such…that จะมีคำนามอยู่ระหว่าง such และ that โดยคำนามนั้น สามารถมีคำคุณศัพท์หรือกลุ่มคำอื่นขยายก็ได้
และคำนามที่อยู่ระหว่าง such และ
that จะเป็นคำนามนับได้ เอกพจน์ หรือพหูพจน์หรือเป็นนามนับไม่ได้ก็ได้
หากเป็นคำนามนับได้เอกพจน์ต้องใช้ a, an ข้างหน้าคำนามนั้น ในบางกรณีที่ความหมายชัดเจนสามารถใช้
such that ได้โดยไม่ต้องมี noun อยู่ตรงกลาง
ตัวอย่างประโยคเช่น She is so beautiful that I can’t help falling in love with her. ประโยคหลักคือ She is beautiful.
เธอสวยมากจนกระทั่งผมไม่อาจไม่ตกหลุมรักเธอได้ ประโยคย่อยคือ so…..that I
can’t help falling in love with her ทำหน้าที่ขยายคำคุณศัพท์ beautiful
เพื่อบอกถึงผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นคืออะไร
Adverb Clause of Condition (ใช้บอกการสมมติหรือเงื่อนไข)
คำเชื่อมที่ใช้ as long as (ตราบเท่าที่) , if(ถ้า....) , unless (ถ้าไม่.....) ,
provided (that) (โดยเงื่อนไขที่ว่า.....) , even if (ถึงแม้ว่า....) ตัวอย่างประโยคเช่น If your save your money, you
will be able to buy your own car. ถ้าคุณประหยัดเงิน คุณสามารถจะซื้อรถของตัวเองได้
ประโยคหลักคือ You will be able to
buy your own car. ประโยคย่อยคือ If your save your money ทำหน้าที่ขยายกริยา buy เพื่อบอกถึงเงื่อนไขที่คุณสามารถซื้อรถได้
Adverb Clause of Concession/Contrast (บอกความขัดแย้ง) คำเชื่อมที่ใช้ although, though, even though (ถึงแม้ว่า),
, while(ในขณะที่) , the fact that ( ทั้งๆที่) ตัวอย่างประโยคเช่น Although he studied really hard,
he failed the exam. ถึงแม่ว่าเขาเรียนหนัก เขาก็ยังสอบตก
ประโยคหลักคือ he failed the exam. ประโยคย่อยคือ Although he studied
really hard ทำหน้าที่ขยายคำกริยา failed เพื่อบอกว่าเหตุอะไรที่เขาสอบตก
Adverb Clause of Comparison (บอกการเปรียบเทียบ) คือ adverb clause ที่ใช้แสดงการเปรียบเทียบ
กับข้อความที่อยู่ข้างหน้า คำเชื่อมที่ใช้คือ as…as (เช่นเดียวกับ, เท่ากับ) not so…as (ไม่เหมือนกับ, ไม่เท่ากับ) such….as (เช่นเดียวกับ, เท่ากับ) ในระหว่างคำว่า such และ as จะเป็นคำนาม ตัวอย่างประโยคเช่น Adverb Clause of Time (ใช้บอกเวลา) คำเชื่อมที่ใช้ได้แก่ when( เมื่อ.....),
before(ก่อน) , after(หลัง), since(ตั้งแต่), as soon as(ทันทีที่) , till(กระทั่ง) , until(จนกระทั่ง) , whenever(เมื่อใดก็ตาม) ตัวอย่างประโยคเช่น After there was the sky train, the traffic problem got better. หลังจากมีรถไฟฟ้า ปัญหาการจราจรก็ดีขึ้น) ประโยคหลัก คือ The
traffic problem got better. ประโยคย่อย คือ After there was
the sky train ทำหน้าที่ขยายกริยา got better เพื่อบอกว่า
เมื่อไรที่การจราจรนั้นดีขึ้น(หลังจากมีรถไฟฟ้า)
นอกจากนี้ adverb clause
of time สามารถลดรูปได้ด้วยคือประการแรกถ้าประธานในประโยคหลักและประโยคย่อยพูดถึงสิ่งเดียวกัน
สามารถตัดประธานในประโยคย่อยได้เลย เช่น The seed is sown before it is
watered. à The seed is sown before being watered.(ซึ่ง the
seed กับ it คือการอ้างถึงสิ่งเดียวกัน)
และจะต้องทำกริยาในประโยคให้เป็น Gerund ด้วย ประการต่อมาคือ
ถ้าประธานในอนุประโยคย่อยเป็น you , we , people , scientists , nurses เป็นต้น สามารถละคำดังกล่าวได้เลย
และเมื่อละแล้วเราก็เป็นกริยาของประโยคให้เป็น Gerund ด้วย
เช่น Before you take a bedpan to a patient , it should be clean. à Before taking a bedpan to a patient , it should be clean. แต่ถ้าประโยคหลักและประโยคย่อยมีประธานคนละตัวจะไม่สามารถละได้ เช่น After
Ann come , Micky left.
อีกประการหนึ่งเมื่อสิ่งที่กระทำในประโยคย่อย
ได้จบไปแล้วอย่างสมบูรณ์และมี since เป็นตัวเชื่อมบอกเวลา เราไม่สามารถลดรูปได้ He has lived here
since he was born. ไม่สามารถที่จะลดเป็น He has lived here
since being born. (ผิด) และสุดท้ายข้อควรระวังคือถ้าประธานในอนุประโยคย่อยเป็นคำนามและอนุประโยคหลักเป็นคำสรรพนามที่อ้างถึงกันละกัน
จะต้องสลับประธานทั้งสองอนุประโยคก่อนที่จะมีการละประธานในอนุประโยคย่อย เช่น
After water is
heated , it become hot.
After it is
heated , water become hot.
After being
heated , water become hot.
จากการได้เรียนรู้เรื่อง
Adverb Clause นั้น
ได้รู้ว่ามันมีหลากหลายประเภทและมีคำเชื่อที่หลากหลาย มีคำนิยามที่แตกต่างกันออกไป
และได้รู้ถึงการละ Adverb clause of time ว่าสามารถละได้ในกรณีไหนบ้างและมีวิธีการใช้อย่างไร
ซึ่งดิฉันสามารถนำความรู้ในส่วนนี้ไปต่อยอดในการเรียนการสอนได้
หรือสามารถนำความรู้ในส่วนนี้ไปพัฒนาทักษะการเขียนได้อีกด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น