วันอาทิตย์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2558

Learning log 1 สิ่งที่ได้เรียนรู้ใน-นอกห้องเรียน

จากการเรียนรู้ในห้องเรียน ดิฉันได้รับความรู้ต่างๆมากมาย ทั้งความรู้ทางด้านการศึกษา เช่น Comprehensible Input = I + 1 นั้นคืออะไร language acquisition และ language learning  มีความแตกต่างกันอย่างไร ทั้งยังได้รู้คำศัพท์มียังไม่เคยเข้าใจความหมายของมันอย่างดี และได้เรียนรู้เกี่ยวกับการแปลภาษาอังกฤษว่ามีหลักการแปลอย่างไรให้ได้ความหมายที่สละสลวย กระชับถูกต้อง นอกจากนี้ ดิฉันยังได้ศึกษาค้นคว้านอกห้องเรียนอีกด้วย โดยการดูรายการ Talk Show ของคุณคริสโตเฟอร์ไรท์ ใน Chris Unseen 3 ซึ่งได้รับทั้งความรู้และความสนุกสนานมากมาย

จากการเรียนรู้นอกห้องเรียน ดิฉันได้เรียนรู้เรื่อง Comprehensible Input = I + 1 ซึ่ง

I = ความรู้เดิมของผู้เรียน

+1 = เป็นสิ่งที่ผู้สอนต้องคิดว่าจะทำอย่างไรให้นักเรียนเข้าใจ จะทำอย่างไรให้ผู้เรียนได้รับความรู้ที่ถูกต้อง เช่น ครูผู้สอนนั้นจะต้องสอนเนื้อหาที่ยากกว่าความรู้พื้นฐานของผู้เรียนหนึ่งระดับ เพราะหากผู้สอนสอนในสิ่งที่ง่ายกว่าหรือในความพอดีก็จะทำให้ผู้เรียนไม่มีความรู้ที่เพิ่มขึ้นหรือไม่มีการพัฒนาความรู้ได้เลย และที่สำคัญคือการที่ครูจะเพิ่มความรู้ให้กับผู้เรียนนั้นจะต้องศึกษาสำรวจความรู้พื้นฐานของผู้เรียนเสียก่อนว่ามีมากหรือน้อยเพียงใด เพื่อให้ง่ายต่อการสอนต่อยอดนั่นเอง

Language acquisition และ language learning  มีความแตกต่างกันคือlanguage acquisition เป็นการเรียนรู้ภาษาธรรมชาติ แต่ language learning  เป็นการเรียนรู้ภาษาแบบรู้ตัว รู้ตัวว่าเรียนอะไร โดยเกิดจากครูสอนคือการเรียนตามแผนของครูนั้นเอง เช่น He plays football. ในประโยคนี้ถ้าเราสามารถเขียนได้นึกได้ ระลึกได้ว่า play จะต้องเติม s จะเรียกว่าเป็นการเรียนรู้แบบ language acquisition แต่ถ้าเราต้องมานั่งมองว่า He เป็นเอกพจน์ กริยา play จะต้องเติม s นั้นจะเรียกว่าเป็นการเรียนรู้แบบ language learning นั่นเอง

นอกจากนี้ยังได้เรียนรู้คำศัพท์ที่เคยคุ้นเคยที่มีความรู้ใหม่เข้ามาสอดแทรกอีกด้วย เช่น คำว่า Summary และ conclusion โดยทั้งสองคำนี้มีความหมายเหมือนกัน แต่มีข้อแตกต่างที่การใช้คือ Summary จะเป็นการสรุปที่ไม่ต้องการความคิดเห็น ส่วน conclusion เป็นการสรุปที่สามารถแทรกความคิดเห็นเข้าไปด้วยและได้รู้หลักการแปลว่าต้องมีความกระชับ กะทัดรัดได้ใจความและต้องมีความถูกต้อง เช่น He lived in Nakhon Si Thammarat for a year. เขาเคยอยู่นครศรีธรรมราชหนึ่งปี (ประโยคนี้จะเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีตและจบไปแล้วในอดีต) He has lived in Nakhon Si Thammarat for a year. เขาอยู่นครศรีธรรมราชมาแล้วหนึ่งปี (ประโยคนี้จะเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีตที่ต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน)

ข้อควรระวังควรดูกาลเวลาในประโยคให้ถี่ถ้วน! จากการที่ดิฉันได้เรียนรู้นอกห้องเรียน Chris Unseen 3 ซึ่งเป็น Talk Show จากคุณคริสโตเฟอร์ไรท์ ได้พูดถึงการใช้ภาษาอังกฤษของคนไทย คนไทยมักใช้ภาษาแบบผิดๆ เช่นคำว่า coyote ในภาษาอังกฤษจะแปลว่า หมาป่าอเมริกา แต่คำนี้คนไทยจะใช้เรียกสาวๆสวยๆที่เต้นโชว์ตามงานต่างๆ คุณคริสยังให้ความรู้หลักการเติม –ing และ –ed หลังคำเพราะหากใช้ผิดจะทำให้ความหมายผิดเพี้ยนได้  -ing แปลว่า น่า , -ก แปลว่า รู้สึก เช่น

I’m so frightened = ฉันรู้สึกกลัว

I’m so frightening = ฉันน่ากลัว

และสิ่งที่ได้เรียนรู้อีกหนึ่งอย่างคือ การแปลประโยคแต่ละประโยคจะต้องคำนึงถึงบริบทของคำศัพท์ที่อยู่ในประโยคด้วย เพราะคำศัพท์แต่ละคำแปลได้หลายความหมาย

                จากการได้เรียนรู้ในห้องเรียนและนอกห้องเรียนนั่น ดิฉันได้รับความรู้แปลกใหม่มากมาย ทั้งที่รู้แล้วก็รู้ลึกไปอีก ดิฉันคิดว่าการเรียนรู้ทั้งสองนี้เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ผู้เรียนได้พัฒนาตนเอง และดิฉันคิดว่าการเรียนรู้นอกห้องเรียนเป็นสิ่งที่น่าสนใจเพราะทำให้เกิดความต้องการที่จะค้นคว้าในสิ่งที่เราอยากรู้หรือสงสัยนอกจากนี้ยังเป็นการเรียนรู้ที่ไม่น่าเบื่ออีกด้วย

 

แปลประโยค


 

วันพฤหัสบดีที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ความแตกต่างทางโครงสร้างของภาษาไทยกับภาษาอังกฤษที่มีผลต่อการแปล

ความแตกต่างทางโครงสร้างของภาษาไทยกับภาษาอังกฤษที่มีผลต่อการแปล

 โครงสร้าง structure นั้นเป็นสิ่งที่บอกเราว่าเราจะนำคำศัพท์ที่เรารู้มาเรียงกันอย่างไรเพื่อให้เป็นภาษาสามารถเข้าใจได้ง่ายขึ้นและโครงสร้างถือเป็นสิ่งสำคัญในการสื่อสารได้เลยเพราะหากเราไม่เข้าใจโครงสร้างเมื่อพูดออกมาก็จะทำให้ผู้ฟังไม่เข้าใจนั่นเอง ไม่ว่าจะเป็นการแปลในภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษโครงสร้างของภาษาก็มีความสำคัญอย่างมาก แต่กระนั้นทั้งสองภาษานี้อาจจะมีความแตกต่างในเรื่องของการแปล
ส่วนที่สำคัญของการสร้างโครงสร้างคือชนิดของคำและประเภทของไวยากรณ์   ซึ่งชนิดของคำและประเภททางไวยากรณ์จะมีความสัมพันธ์กัน ประเภทของไวยากรณ์ที่สำคัญสำหรับการเที่ยวภาษาไทยกับภาษาอังกฤษโดยจะเรียงลำดับตามชนิดของคำที่เกี่ยวข้องคือ
1. คำนาม  ในภาษาอังกฤษจะเป็นลักษณะสำคัญหรือลักษณะที่มีตัวบ่งชี้ แต่ในภาษาไทยนั้นจะเป็นลักษณะที่ไม่สำคัญหรือไม่มีตัวบ่งชี้นั่นเอง
1.1บุรุษ ถ้าในภาษาอังกฤษจะมีการแยกรูปสรรพนามตามบุรุษที่ 1 2 และ 3 แต่ถ้าในภาษาไทยจะไม่แยกเพราะบางคำก็สามารถใช้ได้หลายบุรุษ
1.2พจน์ เป็นการบอกจำนวนว่าเป็นจำนวนเพียง 1 หรือมากกว่า 1 ในภาษาอังกฤษจะมีการบ่งชี้โดยการใช้ a/an หรือการเติม s  แต่ในภาษาไทยไม่มีการบ่งชี้เพราะภาษาไทยไม่มีการแยกสรรพสิ่งตามจำนวนนั้นๆ
1.3การก คือประเภททางไวยากรณ์ของคำนามเพื่อบ่งชี้ว่าคำนี้นั้นเล่นบทบาทอะไรในประโยค ซึ่งในภาษาไทยไม่มีการเติมหน่วยท้ายคำเพื่อแสดงการกแต่ใช้การเรียงคำเหมือนกับการกประธานและการกกรรมในภาษาอังกฤษ เช่นการเติม ‘s
1.4คำนามนับได้ และนับไม่ได้ ในภาษาอังกฤษต่างจากภาษาไทยในเรื่องของการแบ่งว่าเป็นคำนามนับได้และนับไม่ได้ในภาษาอังกฤษทุกคนสามารถแยกความแตกต่างระหว่างคำนามโดยการใช้เติม a/an หรือเติม s แต่ในภาษาไทยคำนามทุกคำจากนับได้เพราะเรามีลักษณนามบอกจำนวนของสิ่งของนั้นได้
2.คำกริยา ถือเป็นสิ่งสำคัญของประโยค แบ่งได้เป็น
                2.1 กาล ซึ่งในภาษาอังกฤษต้องแสดงกาลเวลาเสมอ  แต่ในภาษาไทยอาจจะไม่สำคัญมากนัก
2.2 การณ์ลักษณะ เป็นลักษณะของการกระทำ การเกิดขึ้นของเหตุการณืที่ซ้ำแล้วซ้ำอีก ในภาษาอังกฤษจะมีความสำคัญในภาษาไทยก็เช่นกัน เช่นเราใช่คำว่า กำลังหรือ อยู่นั่นเอง
2.3 มาลา มีหน้าที่แสดงทัศนคติต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างไร ซึ่งในภาษาไทยไม่มีการแสดงคำมาลา แต่ในภาษาอังกฤษอาจจะมีบ้างเล็กน้อย เช่นอาจจะใช้คำกริยาช่วย may , could , should เป็นต้น
2.4 วาจก เป็นตัวบ่งชี้ว่า ประธานเป็นผู้ถูกกระทำหรือเป็นผู้กระทำ ในภาษาอังกฤษจะใช้ในรูป active and passive แต่ในภาษาไทยอาจจะใช้คำว่า ถูก โดน ได้รับ เพื่อเป็นการบ่งบอกว่าประธานของประโยคเป็นผู้ถูกกระทำหรือเป็นผู้กระทำ
2.5 กริยาแท้กับกริยาไม่แท้ ในภาษาอังกฤษจะสำคัญเพราะในประโยคจะมีกริยาแท้ได้เพียงตัวเดียว และต้องแสดงกริยาไม่แท้ให้เห็นชัดเจนในประโยค ส่วนในภาษาไทยจะไม่มีความแต่ต่างระหว่างกริยาแท้กับกริยาไม่แท้

3. ชนิดของคำประเภทอื่น เช่น คำ adjective ก็อาจจะมีปัญหาบ้างสำหรับคนไทย เพราะภาษาไทยไม่มีโครงสร้าง ในประโยคของไทยต้องใช้กริยาทั้งหมดนั่นเอง
หน่วยสร้างที่ต่างกันในภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
1.หน่วยสร้างนามวลี: ตัวกำหนด + นาม (อังกฤษ) vs นาม (ไทย) นามวลีในภาษาอังกฤษต้องมีตัวกำหนดอยู่แน่นำเสมอยกเว้นนามที่เป็นชื่อเฉพาะหรือสรรพนาม แต่ในภาษาไทยจะไม่มีตัวกำหนดมีแต่คำบ่งชี้  เช่น นี่  นั่น  โน่น
2. หน่วยสร้างนามวลี: ส่วนขยาย+ส่วนหลัก(อังกฤษ) vs ส่วนหลัก+ ส่วนขยาย (ไทย) ในภาษาอังกฤษจะว่างส่วนขยายไว้ข้างหน้าส่วนหลักแต่ในภาษาไทยจะตรงกันข้ามกันกับภาษาอังกฤษ
3. หน่วยสร้างกรรมวาจก ในภาษาอังกฤษจะมีรูปแบบที่ชัดเจนแต่ในภาษาไทยมีหลายรูปแบบ
4. หน่วยสร้างประโยคในภาษาอังกฤษจะเน้น subject แต่ในภาษาไทยจะเน้น topic
 5. หน่วยสร้างกริยาเรียง มีในภาษาไทยแต่ไม่มีในภาษาอังกฤษและมักจะมีปัญหาในการแปลเสมอ

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการแปล

บทที่ 1

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการแปล

                ปัจจุบันการใช้ภาษาอังกฤษเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะการใช้ในการสื่อสาร ไม่ว่าจะเป็นทางด้านธุรกิจ สังคม การเมือง การศึกษา และเศรษฐกิจ ซึ่งการสื่อสารดังกล่าวส่วนใหญ่จะใช้กับชาวต่างประเทศทั้งนั้น แต่ที่สำคัญคือภาษาอังกฤษสำหรับบางคนนั้นยังไม่แข็งแรงพอ ไม่ว่าจะเป็น การอ่าน การเขียน การพูด แม้กระทั่งการแปล ภาษาอังกฤษในปัจจุบันจึงต้องอาศัยผู้แปลอย่างยิ่งเพื่อให้สะดวกมากยิ่งขึ้น ดังนั้นงานแปลที่ดี ผู้แปลจึงต้องเอาใจใส่ในการวิเคราะห์ การตีความหมายให้ได้ใจความมากที่สุด เพื่อให้งานนั้นออกมาถูกต้องและแม่นยำมากที่สุด
หลายคนคิดว่าการแปลก็คือการถ่ายทอดความคิดจากภาษาหนึ่งไปอีกภาษาหนึ่ง ก็จริงอยู่ แต่ทั้งนี้การแปลจะต้องทำให้บทความนั้นๆ มีใจความที่ถูกต้องตามแบบฉบับ มีลักษณะเป็นธรรมชาติ ไม่ติดสำนวนฝรั่ง ใช้ภาษาสละสลวย และอื่นๆอีกมากมายแต่งานแปลจะมีลักษณะที่ดีได้นั้น ก็ต้องพึ่งคุณสมบัติของผู้แปลด้วยคือ เป็นคนที่รู้ภาษาเป็นอย่างดี สามารถถ่ายทอดให้ผู้อ่านเข้าใจ รักการอ่าน มีความตั้งใจ ละเอียดและรอบคอบ เป็นต้น
บทบาทของการแปล การแปลเป็นทักษะที่พิเศษในการสื่อสาร คือผู้รับสาร ที่ไม่ได้รับสารโดยตรงแต่จะรับสารจากผู้แปลอีกทอดหนึ่ง





การให้ความหมายในการแปล มี 2 แบบ คือ

1. การแปลโดยมีรูปประโยคที่ต่างกันแต่มีความหมายเดียวกัน
2. การตีความหมายจากบริบทของข้อความนั้นๆ

      การแปลความหมายตามทัศนคติของนักอรรถศาสตร์  การใช้ปัจจุบันกาล มีรูปแบบของกาล 2 กาล คือ ปัจจุบันกาลแบและอนาคต

ปัจจุบันกาลที่ปรากฏในประโยคคือ

·       เป็นการกระทำที่เป็นนิสัย – โครงสร้างของประโยคนี้แสดงถึงการกระทำที่เป็นปัจจุบัน
·       การกระทำตามธรรมชาติ โครงสร้างของประโยคแสดงการกระทำที่กำลังดำเนินอยุ่
·       สถานภาพของปัจจุบันกาล – โครงสร้างของประโยคที่แสดงถึงสถานภาพที่กำลังเป็นอยู่
·       อนาคตกาล – โครงสร้างของประโยคแสดงถึงการกระทำที่กำลังดำเนิน การบ่งถึงอนาคต
·       ปัจจุบันกาล – เป็นการแสดงถึงการกระทำที่มีช่วงเวลาสั้นในขณะนั้นหรือในอดีต
·       การเล่าเรื่องที่เกิดในปัจจุบัน – ใช้ในการวิจารณ์หรือการแนะนำ

สิ่งที่ต้องคำนึงถึงเมื่อมีการแปลภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย

-          การแปลที่ต้องเปรียบเทียบระหว่างปัจจุบันกาลปละอนาคตกาล
-          แปลตามความหมายของคำศัพท์ ไม่ใช่ตามโครงสร้างไวยากรณ์
-          แปลให้ความหมายมีความใกล้เคียงกับบริบทเพราะศัพท์บางคำมีได้หลายความหมาย
          จึงต้องพิจารณา ให้ดี
-          การตีความทำนาย

การแปลความตีความจากบริบท เป็นการแปลจากความคิกรวบยอดและให้มีความใกล้เคียงมากที่สุด
สิ่งที่ต้องนำมาใช้ในการวิเคราะห์ความหมายคือ
· องค์ประกอบของความหมาย  คำศัพท์ ไวยากรณ์ และเสียง
   · ความหมายและรูปแบบ

    - ความหมายหนึ่งอาจจะแสดงออกได้หลายรูปแบบ เช่น

  The dog bit the boy.
  The boy was bitten by the dog.

ทั้งสองประโยคนี้มีความหมายเหมือนกัน ในประโยคที่หนึ่งจะใช้โครงสร้างในรูปของ present simple tense  แต่ในประโยคที่สองจะอยู่ในรูปของ passive voice นั้นเอง
    
   - รูปแบบเดียวอาจจะมีหลายความหมาย
               
           The chicken is ready.         มี 2 ความหมายคือ
                              
          -The chicken is ready to eat ( the chicken eats )
          -The chicken is ready (for someone ) to eat.
          · ประเภทของความหมาย 


o   ความหมายอ้างอิง เป็นความหมายที่กล่าวอ้างโดยตรงถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
o   ความหมายแปล ความรู้สึกทางอารมณ์ของผู้อ่าน/ฟัง อาจจะเป็นความหมายทางบวกหรือลบก็ได้
o   ความหมายตามบริบท เป็นรูปแบบของภาษาที่อาจมีได้หลายความหมาย จึงต้องพิจารณาจากบริบทนั้นๆ
o   ความหมายเชิงอุปมา เป็นความหมายที่เกิดจากการเปรียบเทียบทั้งมาจากการเปรียบเทียบแบบเปิดเผยและการเปรียบเทียบโดยนัย