วันอาทิตย์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2558

Learning log 1 สิ่งที่ได้เรียนรู้ใน-นอกห้องเรียน

จากการเรียนรู้ในห้องเรียน ดิฉันได้รับความรู้ต่างๆมากมาย ทั้งความรู้ทางด้านการศึกษา เช่น Comprehensible Input = I + 1 นั้นคืออะไร language acquisition และ language learning  มีความแตกต่างกันอย่างไร ทั้งยังได้รู้คำศัพท์มียังไม่เคยเข้าใจความหมายของมันอย่างดี และได้เรียนรู้เกี่ยวกับการแปลภาษาอังกฤษว่ามีหลักการแปลอย่างไรให้ได้ความหมายที่สละสลวย กระชับถูกต้อง นอกจากนี้ ดิฉันยังได้ศึกษาค้นคว้านอกห้องเรียนอีกด้วย โดยการดูรายการ Talk Show ของคุณคริสโตเฟอร์ไรท์ ใน Chris Unseen 3 ซึ่งได้รับทั้งความรู้และความสนุกสนานมากมาย

จากการเรียนรู้นอกห้องเรียน ดิฉันได้เรียนรู้เรื่อง Comprehensible Input = I + 1 ซึ่ง

I = ความรู้เดิมของผู้เรียน

+1 = เป็นสิ่งที่ผู้สอนต้องคิดว่าจะทำอย่างไรให้นักเรียนเข้าใจ จะทำอย่างไรให้ผู้เรียนได้รับความรู้ที่ถูกต้อง เช่น ครูผู้สอนนั้นจะต้องสอนเนื้อหาที่ยากกว่าความรู้พื้นฐานของผู้เรียนหนึ่งระดับ เพราะหากผู้สอนสอนในสิ่งที่ง่ายกว่าหรือในความพอดีก็จะทำให้ผู้เรียนไม่มีความรู้ที่เพิ่มขึ้นหรือไม่มีการพัฒนาความรู้ได้เลย และที่สำคัญคือการที่ครูจะเพิ่มความรู้ให้กับผู้เรียนนั้นจะต้องศึกษาสำรวจความรู้พื้นฐานของผู้เรียนเสียก่อนว่ามีมากหรือน้อยเพียงใด เพื่อให้ง่ายต่อการสอนต่อยอดนั่นเอง

Language acquisition และ language learning  มีความแตกต่างกันคือlanguage acquisition เป็นการเรียนรู้ภาษาธรรมชาติ แต่ language learning  เป็นการเรียนรู้ภาษาแบบรู้ตัว รู้ตัวว่าเรียนอะไร โดยเกิดจากครูสอนคือการเรียนตามแผนของครูนั้นเอง เช่น He plays football. ในประโยคนี้ถ้าเราสามารถเขียนได้นึกได้ ระลึกได้ว่า play จะต้องเติม s จะเรียกว่าเป็นการเรียนรู้แบบ language acquisition แต่ถ้าเราต้องมานั่งมองว่า He เป็นเอกพจน์ กริยา play จะต้องเติม s นั้นจะเรียกว่าเป็นการเรียนรู้แบบ language learning นั่นเอง

นอกจากนี้ยังได้เรียนรู้คำศัพท์ที่เคยคุ้นเคยที่มีความรู้ใหม่เข้ามาสอดแทรกอีกด้วย เช่น คำว่า Summary และ conclusion โดยทั้งสองคำนี้มีความหมายเหมือนกัน แต่มีข้อแตกต่างที่การใช้คือ Summary จะเป็นการสรุปที่ไม่ต้องการความคิดเห็น ส่วน conclusion เป็นการสรุปที่สามารถแทรกความคิดเห็นเข้าไปด้วยและได้รู้หลักการแปลว่าต้องมีความกระชับ กะทัดรัดได้ใจความและต้องมีความถูกต้อง เช่น He lived in Nakhon Si Thammarat for a year. เขาเคยอยู่นครศรีธรรมราชหนึ่งปี (ประโยคนี้จะเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีตและจบไปแล้วในอดีต) He has lived in Nakhon Si Thammarat for a year. เขาอยู่นครศรีธรรมราชมาแล้วหนึ่งปี (ประโยคนี้จะเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีตที่ต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน)

ข้อควรระวังควรดูกาลเวลาในประโยคให้ถี่ถ้วน! จากการที่ดิฉันได้เรียนรู้นอกห้องเรียน Chris Unseen 3 ซึ่งเป็น Talk Show จากคุณคริสโตเฟอร์ไรท์ ได้พูดถึงการใช้ภาษาอังกฤษของคนไทย คนไทยมักใช้ภาษาแบบผิดๆ เช่นคำว่า coyote ในภาษาอังกฤษจะแปลว่า หมาป่าอเมริกา แต่คำนี้คนไทยจะใช้เรียกสาวๆสวยๆที่เต้นโชว์ตามงานต่างๆ คุณคริสยังให้ความรู้หลักการเติม –ing และ –ed หลังคำเพราะหากใช้ผิดจะทำให้ความหมายผิดเพี้ยนได้  -ing แปลว่า น่า , -ก แปลว่า รู้สึก เช่น

I’m so frightened = ฉันรู้สึกกลัว

I’m so frightening = ฉันน่ากลัว

และสิ่งที่ได้เรียนรู้อีกหนึ่งอย่างคือ การแปลประโยคแต่ละประโยคจะต้องคำนึงถึงบริบทของคำศัพท์ที่อยู่ในประโยคด้วย เพราะคำศัพท์แต่ละคำแปลได้หลายความหมาย

                จากการได้เรียนรู้ในห้องเรียนและนอกห้องเรียนนั่น ดิฉันได้รับความรู้แปลกใหม่มากมาย ทั้งที่รู้แล้วก็รู้ลึกไปอีก ดิฉันคิดว่าการเรียนรู้ทั้งสองนี้เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ผู้เรียนได้พัฒนาตนเอง และดิฉันคิดว่าการเรียนรู้นอกห้องเรียนเป็นสิ่งที่น่าสนใจเพราะทำให้เกิดความต้องการที่จะค้นคว้าในสิ่งที่เราอยากรู้หรือสงสัยนอกจากนี้ยังเป็นการเรียนรู้ที่ไม่น่าเบื่ออีกด้วย

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น