วันพฤหัสบดีที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ความแตกต่างทางโครงสร้างของภาษาไทยกับภาษาอังกฤษที่มีผลต่อการแปล

ความแตกต่างทางโครงสร้างของภาษาไทยกับภาษาอังกฤษที่มีผลต่อการแปล

 โครงสร้าง structure นั้นเป็นสิ่งที่บอกเราว่าเราจะนำคำศัพท์ที่เรารู้มาเรียงกันอย่างไรเพื่อให้เป็นภาษาสามารถเข้าใจได้ง่ายขึ้นและโครงสร้างถือเป็นสิ่งสำคัญในการสื่อสารได้เลยเพราะหากเราไม่เข้าใจโครงสร้างเมื่อพูดออกมาก็จะทำให้ผู้ฟังไม่เข้าใจนั่นเอง ไม่ว่าจะเป็นการแปลในภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษโครงสร้างของภาษาก็มีความสำคัญอย่างมาก แต่กระนั้นทั้งสองภาษานี้อาจจะมีความแตกต่างในเรื่องของการแปล
ส่วนที่สำคัญของการสร้างโครงสร้างคือชนิดของคำและประเภทของไวยากรณ์   ซึ่งชนิดของคำและประเภททางไวยากรณ์จะมีความสัมพันธ์กัน ประเภทของไวยากรณ์ที่สำคัญสำหรับการเที่ยวภาษาไทยกับภาษาอังกฤษโดยจะเรียงลำดับตามชนิดของคำที่เกี่ยวข้องคือ
1. คำนาม  ในภาษาอังกฤษจะเป็นลักษณะสำคัญหรือลักษณะที่มีตัวบ่งชี้ แต่ในภาษาไทยนั้นจะเป็นลักษณะที่ไม่สำคัญหรือไม่มีตัวบ่งชี้นั่นเอง
1.1บุรุษ ถ้าในภาษาอังกฤษจะมีการแยกรูปสรรพนามตามบุรุษที่ 1 2 และ 3 แต่ถ้าในภาษาไทยจะไม่แยกเพราะบางคำก็สามารถใช้ได้หลายบุรุษ
1.2พจน์ เป็นการบอกจำนวนว่าเป็นจำนวนเพียง 1 หรือมากกว่า 1 ในภาษาอังกฤษจะมีการบ่งชี้โดยการใช้ a/an หรือการเติม s  แต่ในภาษาไทยไม่มีการบ่งชี้เพราะภาษาไทยไม่มีการแยกสรรพสิ่งตามจำนวนนั้นๆ
1.3การก คือประเภททางไวยากรณ์ของคำนามเพื่อบ่งชี้ว่าคำนี้นั้นเล่นบทบาทอะไรในประโยค ซึ่งในภาษาไทยไม่มีการเติมหน่วยท้ายคำเพื่อแสดงการกแต่ใช้การเรียงคำเหมือนกับการกประธานและการกกรรมในภาษาอังกฤษ เช่นการเติม ‘s
1.4คำนามนับได้ และนับไม่ได้ ในภาษาอังกฤษต่างจากภาษาไทยในเรื่องของการแบ่งว่าเป็นคำนามนับได้และนับไม่ได้ในภาษาอังกฤษทุกคนสามารถแยกความแตกต่างระหว่างคำนามโดยการใช้เติม a/an หรือเติม s แต่ในภาษาไทยคำนามทุกคำจากนับได้เพราะเรามีลักษณนามบอกจำนวนของสิ่งของนั้นได้
2.คำกริยา ถือเป็นสิ่งสำคัญของประโยค แบ่งได้เป็น
                2.1 กาล ซึ่งในภาษาอังกฤษต้องแสดงกาลเวลาเสมอ  แต่ในภาษาไทยอาจจะไม่สำคัญมากนัก
2.2 การณ์ลักษณะ เป็นลักษณะของการกระทำ การเกิดขึ้นของเหตุการณืที่ซ้ำแล้วซ้ำอีก ในภาษาอังกฤษจะมีความสำคัญในภาษาไทยก็เช่นกัน เช่นเราใช่คำว่า กำลังหรือ อยู่นั่นเอง
2.3 มาลา มีหน้าที่แสดงทัศนคติต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างไร ซึ่งในภาษาไทยไม่มีการแสดงคำมาลา แต่ในภาษาอังกฤษอาจจะมีบ้างเล็กน้อย เช่นอาจจะใช้คำกริยาช่วย may , could , should เป็นต้น
2.4 วาจก เป็นตัวบ่งชี้ว่า ประธานเป็นผู้ถูกกระทำหรือเป็นผู้กระทำ ในภาษาอังกฤษจะใช้ในรูป active and passive แต่ในภาษาไทยอาจจะใช้คำว่า ถูก โดน ได้รับ เพื่อเป็นการบ่งบอกว่าประธานของประโยคเป็นผู้ถูกกระทำหรือเป็นผู้กระทำ
2.5 กริยาแท้กับกริยาไม่แท้ ในภาษาอังกฤษจะสำคัญเพราะในประโยคจะมีกริยาแท้ได้เพียงตัวเดียว และต้องแสดงกริยาไม่แท้ให้เห็นชัดเจนในประโยค ส่วนในภาษาไทยจะไม่มีความแต่ต่างระหว่างกริยาแท้กับกริยาไม่แท้

3. ชนิดของคำประเภทอื่น เช่น คำ adjective ก็อาจจะมีปัญหาบ้างสำหรับคนไทย เพราะภาษาไทยไม่มีโครงสร้าง ในประโยคของไทยต้องใช้กริยาทั้งหมดนั่นเอง
หน่วยสร้างที่ต่างกันในภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
1.หน่วยสร้างนามวลี: ตัวกำหนด + นาม (อังกฤษ) vs นาม (ไทย) นามวลีในภาษาอังกฤษต้องมีตัวกำหนดอยู่แน่นำเสมอยกเว้นนามที่เป็นชื่อเฉพาะหรือสรรพนาม แต่ในภาษาไทยจะไม่มีตัวกำหนดมีแต่คำบ่งชี้  เช่น นี่  นั่น  โน่น
2. หน่วยสร้างนามวลี: ส่วนขยาย+ส่วนหลัก(อังกฤษ) vs ส่วนหลัก+ ส่วนขยาย (ไทย) ในภาษาอังกฤษจะว่างส่วนขยายไว้ข้างหน้าส่วนหลักแต่ในภาษาไทยจะตรงกันข้ามกันกับภาษาอังกฤษ
3. หน่วยสร้างกรรมวาจก ในภาษาอังกฤษจะมีรูปแบบที่ชัดเจนแต่ในภาษาไทยมีหลายรูปแบบ
4. หน่วยสร้างประโยคในภาษาอังกฤษจะเน้น subject แต่ในภาษาไทยจะเน้น topic
 5. หน่วยสร้างกริยาเรียง มีในภาษาไทยแต่ไม่มีในภาษาอังกฤษและมักจะมีปัญหาในการแปลเสมอ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น