การเรียนรู้นอกห้องเรียน
เป็นการเรียนรู้ที่ทำให้ดิฉัน
รู้สึกเพลิดเพลินเพราะเป็นการเรียนรู้ที่เกิดจากการความรู้ ความสนใจของผู้เรียนเอง
ดิฉันก็เช่นกัน ดิฉันมีความสนใจในเรื่องของเพลงสากลอยากรู้ว่าเพลงสากลมีประโยชน์กับเรามากน้อยแค่ไหน
อยากรู้ว่าเพลงๆหนึ่งสามารถช่วยให้เราพัฒนาด้านไหนได้บ้างในทักษะภาษาอังกฤษ
และทำอย่างไรถึงจะสามารถร้องและเข้าใจเพลงได้อย่างรวดเร็ว
เรื่องต่อมาที่ดิฉันได้ไปศึกษานอกห้องเรียนคือ การจำคำศัพท์ให้ง่ายขึ้น
มีวิธีไหนที่น่าสนใจบ้าง เพื่อจะได้นำวิธีนั้นมาพัฒนาตนเอง
การเรียนนอกห้องเรียนทำให้ดิฉันได้สนุกได้รู้เทคนิคต่างๆและยังได้เพลิดเพลินอีกด้วย
เพลงสากลเป็นสื่อการเรียนรู้อย่างหนึ่งที่ดิฉันรู้สึกสนใจมาก
เนื่องจากในหลายๆครั้งดิฉันเห็นคนรอบข้างชอบฟังและร้องตาม
ดิฉันรู้สึกประทับใจและคิดว่าเพลงสากลสามารถทำให้เราได้พัฒนาทางด้านภาษาอังกฤษได้แน่ๆ
ดิฉันจึงลองค้นหาจากการแสดงความคิดเห็นของผู้อื่นในอินเตอร์เน็ตพบว่ามีหลายคนที่ฝึกทักษะภาษาอังกฤษจากการฟังเพลง
ทั้งด้านการฟัง การร้องตาม(สำเนียง) ได้ทั้งคำศัพท์ใหม่
การแปลความหมายจากบทเพลงซึ่งแค่ฟังเพลงสากล เราก็สามารถฝึกได้หลายอย่างทั้ง ฟัง
ออกเสียง การเขียนแปล การฟังเพลงสากลมีประโยชน์มาก ได้ทั้งความรู้
ความเพลิดเพลินและสนุกได้ด้วยจากการแสดงความคิดเห็นของผู้อื่นในอินเตอร์เน็ตจึงทำให้ดิฉันอยากพัฒนาตังเอง
ค้นหาเทคนิคต่างและลองฝึกดู
ซึ่งเทคนิคในการฝึกภาษาอังกฤษผ่านเพลง
มีดังนี้ คือ อันดับแรกเราต้องรู้จักแหล่งเพลงดีๆไม่ว่าจะทาง YouTube หรือ Vimno ทั้งสองเว็บนี้จะมีเพลงดีๆอยู่มากและถ้าเลือกเพลงก็ควรมีเนื้อร้องประกอบไปด้วยจำทำให้การหัดเพลงภาษาอังกฤษง่ายขึ้น
ขันตอนต่อมาคือ การเลือกเพลงให้เหมาะสม ควรเลือกเพลงที่ชอบ
จะทำเราจดจ่ออยู่กับการฝึกได้นานขึ้น เลือกเพลงที่ภาษาไม่ง่ายหรือยากเกินไป
ควรเลือกเพลงที่บอกเล่าเรื่องราวพอให้นึกภาพได้ หากเริ่มฝึกแบบมีพื้นฐานน้อยมาก
อาจลองเลือกเพลงจากการ์ตูนก่อนก็ได้ หรืออาจจะฝึกจากเพลงป๊อป
เพราะเพลงส่วนใหญ่จะเกี่ยวกับความรัก ความโรเมนติก มีคำศัพท์ง่ายๆ
ซ้ำๆจะทำให้เราชำนาญมากยิ่งขึ้น แล้วค่อยไปฝึกเพลงประเภทอื่น
เทคนิคถัดไปคือฝึกอย่างเป็นชั้นเป็นตอน
การอ่านเนื้อเพลงตามไปด้วยจะทำให้เข้าใจความหมายของเพลงมากยิ่งขึ้น แต่ถ้าฟังช่วงแรกๆไม่ต้องดูเนื้อก่อนก็ได้
ให้ฝึกเขียนคำศัพท์ หรือจับใจความประโยคออกมาให้ได้ ต่อมาคือร้องตามอย่างเต็มเสียง
ขยับปากให้เต็มที่เพื่อเป็นการฝึกกล้ามเนื้อริมฝีปาก
เพราะในภาษาอังกฤษมีการใช้กล้ามเนื้อริมฝีปากมากกว่าภาษาไทย
ฝึกบ่อยๆจะทำให้สำเนียงเราดีขึ้น
เทคนิคต่อมาคือการฟังเพลงสลับไปสลับมาและค้นหาเพลงใหม่ที่มีระดับยากขึ้น
เพื่อฝึกประสิทธิภาพในการท้าทายตัวเองซึ่งส่วนใหญ่มักมีสำนวนและคำศัพท์ใหม่ๆ
การฝึกเพลงควรฝึกวันละ 1-2 ชั่วโมง และอย่าทิ้งสิ่งที่เราตั้งใจไว้กลางทาง
จงเชื่อเสมอว่าเราต้องทำได้
หลังจากค้นคว้าหาเทคนิคการเรียนรู้ภาษาอังกฤษจากเพลงเสร็จ
ดิฉันลองมาฝึกดูโดยการฟังเพลง Way Back into
Love โดยอันดับแรกลองฟังเพลงดูก่อน
แล้วก็ลองดูเนื้อเพลงพบว่ามีคำศัพท์บางคำที่ยังไม่รู้
และเนื้อเพลงเป็นโครงสร้างรูปแบบประโยคที่ดิฉันรู้สึกคุ้นเคย ดังตัวอย่างบางส่วนของเพลง
I have been living with a shadow overhead .I have been sleeping with a
cloud above my bed. I have been lonely for so long. Trapped in the past I just
can not seem to move on.
จากการที่ดิฉันสังเกตประโยคโครงสร้างส่วนใหญ่จะเป็นรูปประโยคของ Present Perfect
Continuous Tense นอกจากนี้ดิฉันยังได้คำศัพท์ใหม่ที่ไม่รู้มาก่อนคือ
Trapped : วนอยู่กับ/ที่ติดกับ นั้นเอง
นอกจากนี้ดิฉันยังลองฝึกอีกท่อนของเพลงเดิม
All I want to do is find a way back into love. I can not make it through
without a way back into love And . if I open my heant again I guess I am hoping
you well be there for me in the end และลองพยายามแปลเนื้อเพลงให้เป็นภาษาไทยก็ทำให้เข้าใจอรรถรสของเพลงนี้มากยิ่งขึ้น
คำศัพท์ในท่อนนี้ก็ไม่ค่อยยากจึงทำให้รู้สึกเพลิดเพลินกับการแปลและการฟังเพลงไปด้วย
แต่ทั้งนี้ยังมีเพลงบางประเภทที่มีทำนองเนื้อร้องที่เร็วเกินไป
จนทำให้ร้องและฟังไม่ทัน แต่ดิฉันคิดว่าจะเริ่มฟังเพลงสบายๆให้ชินก่อนหลังจากนั้นจะฝึกเพลงสากล
แบบเร็ว เผื่อเราจะทำได้ดีขึ้น
หลังจากนี้ดิฉันได้ค้นคว้าหาเทคนิคการจำคำศัพท์ให้ง่ายขึ้น
โดยได้เจอเทคนิคการท่องศัพท์ การจำคำศัพท์คล้องจ้อง
การอ่านคำศัพท์ด้วยคำคล้องจ้องภาษาอังกฤษทำให้เราทราบความหมายของคำศัพท์ การออกเสียงคำศัพท์ที่มีรูปเสียงคล้ายกันสัมผัสเหมือนกันทำให้เข้าใจความหมายและการออกเสียงมากขึ้นสนุกกับการคล้องจ้องของแต่ละคำอีกด้วย
ดังบทความที่ (สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี.2541) “ ... นักการศึกษาหลายท่านพยายาม ให้ยกเลิกการท่องจำ
โดยกล่าวว่าเป็นการปิดกั้นความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ แต่ข้าพเจ้าเกิดความสงสัยว่า
ถ้าไม่มีข้อมูลแล้วจะเอาอะไรเป็นพื้นฐานความคิด การท่องจำบทกวี ทำให้เห็นได้ศัพท์มาแต่งของตนเอง
ของบางอย่างติดอยู่ในสมองแล้วก็ทำให้คิดได้ลึกซึ้งขึ้น
เพราะไม่ต้องการข้อมูลอีกแล้ว นอกจากนั้นยังเป็นการฝึกความจำ
ฝึกสมาธิไม่ให้ฟุ้งซ่าน”
ตัวอย่างคำศัพท์คล้องจ้อง
son บุตรชาย ขาย sell tell บอก ออก out
cow แม่วัน หัว head get ได้รับ จับ tch
mat เสื่อ เสือ tiger boxer นักมวย สวย beautiful
pull ดึง มาถึง arrive advice คำแนะนำ จำ remember
เป็นต้น ซึ่งจากการที่ดิฉันได้ลองอ่านคำศัพท์เหล่านี้
ก็รู้สึกว่ามันง่ายขึ้น มันสามารถทำให้เราจำได้
อยากอ่านต่อไปเรื่อยๆรู้สึกมันมีทำนองการคล้องจ้อง ซึ่งดีกว่า
การอ่านท่องจำคำศัพท์ทั่วๆไป เพราะทำให้น่าเบื่อไม่มีส่วนที่ทำให้ดึงดูดใจในการฟัง
ซึ่งการจำหรือท่องคำศัพท์คล้องจ้องนี้ทำให้จำได้นาน
และมีประโยชน์คือสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการเขียนได้คือการดึงคำศัพท์มาใช้เขียนประโยคหรืออื่นๆเป็นต้น
นอกจากมีเทคนิคการจำคำศัพท์คล้องจ้องแล้วยังมีวิธีการจำคำศัพท์แบบมากมาย
คือ การจักคำศัพท์ที่มีความหมายเหมือนกัน เช่น คำว่า ต้องการ : want,need,require,desire เป็นต้น ประการต่อมาคือ
การจัดคำศัพท์ที่ในหนึ่งคำมีหลายความหมาย เช่น fair : ยุติธรรม,สวยงาม,งานแสดงสินค้า
หรืออาจจะจัดหมวดหมู่คำตามรากศัพท์ เช่น จากรากศัพท์คำว่า tain จะได้คำว่า retain , maintain ,
contain , detain เป็นต้น
ต่อมาอาจจะจัดเป็นหมู่คำตามประเภทของเรื่อง เช่น เป็นเรื่องเกี่ยวกับ category
เกี่ยวกับอาชญากรรม
ซึ่งแบ่งออกเป็น pick-pocket นักล่วงกระเป๋า, mugger
ผู้ร้ายชิงทรัพย์ , robber โจรปล้นแบงค์ , burglar
โจรย่องเบา และ bandit โจรกระจอก เป็นต้น
อาจจะจัดหมวดหมู่อื่นๆเช่น เกี่ยวกับการคมนาคม วันสำคัญ หรือ สถานที่ต่างๆ เป็นต้น
จากการเรียนรู้นอกห้องเรียน
ดิฉันคิดว่าการร้องเพลงก็คือการพูดแบบมีจังหวะหรือทำนองเข้ามาสอดแทรก
หากเราฝึกฝนทุกวัน ซื่อสัตย์กับตนเองในการฝึก
เราก็จะได้ประโยชน์หลายด้านมากจากการฟังเพลงไม่ว่าการฟัง การพูดหรือการร้อง
ได้ฝึกสำเนียงภาษาของตนเองไปด้วย การอ่านหรือการร้องตามเนื้อเพลงนั้นเอง
และได้คำศัพท์ใหม่ที่เราไม่เคยรู้มาก่อน และไม่ได้เฉพาะความรู้เท่านั้น
การฟังเพลงยังสร้างความเพลิดเพลิน ผ่อนคลายให้กับเราอีกด้วย
ต่อมาการจำคำศัพท์ในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น คำศัพท์คล้องจ้อง
การจัดคำศัพท์ให้อยู่ในหมวดเดียวกัน
ก็สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้จากการที่ไม่ชอบจำศัพท์ เมื่อได้ลองฝึกคำศัพท์คล้องจ้อง
ก็รู้สึกว่ามันน่าสนใจและดึงดูดให้อยากจำคำศัพท์มากยิ่งขึ้น